ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน


ระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมองค์กร

          พีทีจี จัดทำระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยจะดำเนินการจัดการแบบบูรณาการ (Integrated Management System) ทั้ง 3 ระบบเข้าด้วยกัน ซึ่งจะเรียกว่า "ระบบการจัดการ" ตามมาตรฐานมอก. 9001-2559, ISO 9001: 2015 Quality Management Systems Requirement มอก. 14001-2515, ISO 14001: 2015: Environmental Management System Requirements และ มอก. 45001-2518, ISO 45001: 2018 Occupational Health and Safety Management System

          ในการบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยภายในองค์กร บริษัทได้กำหนดนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม (Quality, Security, Occupational Health and Safety, Environmental Policy: QSSHE) ขึ้น เพื่อดูแลควบคุมกระบวนการปฏิบัติงาน การปรับปรุงการให้บริการ การเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) ให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความตระหนักในการปฏิบัติการเพื่อจัดการความเสี่ยงและโอกาสด้าน QSSHE ขององค์กร รวมถึงผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ทุกกลุ่ม

          นอกจากการใช้มาตรฐานสากลในการบริหารจัดการทางด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมแล้ว เพื่อให้มั่นใจว่าทุกหน่วยธุรกิจจะนำมาตรฐานความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ไปเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ บริษัทฯ ได้จัดทำระบบมาตรฐานความมั่นคง ความปลอดภัย อาขีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม กลุ่มบริษัท PTG ( PTG SSHEMS) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับดูแลมาตรฐานการบริหารจัดการความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นระบบเดียวกันทั่วทั้งองค์กรเป็นอย่างต่ำ โดยเป้าหมายของระบบ
PTG SSHEMS มุ่งให้เกิด

ㆍZero Accident
ㆍZero Environmental Claim
ㆍZero Security Incident
ㆍZero Process Safety Event

ระบบได้ดำเนินการผ่านวงล้อของ PDCA ประกอบไปด้วย 14 ข้อกำหนด ในแต่ละข้อกำหนดจะประกอบไปด้วย 4 มิติ ได้แก่

Content : การจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
Deployment : การสื่อสารขั้นตอนการปฏิบัติงานไปยังผู้ปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
Conformant : การปฏิบัติตามคู่มือและขั้นตอนการปฏิบัติอย่าง
Performance : ประสิทธิผลของการดำเนินการถูกต้อง

โครงสร้างการบริหารงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมองค์กร

1) ระดับกลุ่มบริษัทฯ: พีที่จี ได้จัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลทางด้านนโยบายบริหารความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยมีประธานเจ้าหน้าบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นประธาน มีกรรมการผู้จัดการจากบริษัทฯในกลุ่มเป็นกรรมการและมีฝ่ายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเป็นเลขานุการ ในการดำเนินงาน บทบาทหน้าที่ เพื่อกำหนดทิศทางการบริหารจัดการความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมภายในกลุ่มบริษัทฯ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร

2) ระดับกลุ่มธุรกิจ: พีที่จี ได้บรรจุวาระการประชุมทางด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ให้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมฝ่ายปฏิบัติการ ประจำเดือน เพื่อให้ทีมผู้บริหารระดับกลางในสายงานปฏิบัติการได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย และเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย ประจำพื้นที่

3) ระดับพื้นที่ปฏิบัติการ: พีทีจี ได้จัดให้ทุกพื้นที่ปฏิบัติการมีคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงานตามกฎหมาย เพื่อเป็นทีมในการบริหารจัดการทางด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมประจำพื้นที่ และติดตามข้อเสนอแนะจากพนักงาน ติดตามความคืบหน้าประเด็นปัญหาทางด้านความปลอดภัยจากพนักงาน ตลอดจนวางแผนและเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยฯ

การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

● การระบุอันตราย (Hazard identification)
          บริษัทได้จัดทำกระบวนการเพื่อระบุอันตรายที่มีในระบบการจัดการ โดยกระบวนการนี้บริษัทได้พิจารณาถึง วิธีการปฏิบัติงาน ปัจจัยทางสังคม การได้รับผลกระทบเชิงลบจากการร่วมเป็นที่ปรึกษา ภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์กร กิจกรรมและสถานการณ์แบบประจำหรือไม่ประจำ รวมถึงอันตรายที่เกิดจาก โครงสร้างพื้นฐาน วัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น โดยฝ่ายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมได้นำผลการบ่งขี้อันตรายมาปรับใช้ และปรับปรุงการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย โดยในกระบวนการประเมินความเสี่ยงจัดให้มีการประเมินให้ครอบคลุมทั้งด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ในทุกกระบวนการของการดำเนินการ

● การรายงานเกี่ยวกับอันตรายและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
          พีทีจี ได้ทำระบบในการรายงานการประเด็นทางด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแบ่งเป็นประเภทของการรายงานดังต่อไปนี้

1. การรายงงานอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ ในการทำงาน : เมื่อเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นพนักงานต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานประจำพื้นที่ให้รับทราบทันที ผ่านช่องทางที่กำหนด จากนั้นจะต้องเข้าสู่กระบวนการสืบสวนหาสาเหตุที่แท้จริงเพื่อนำไปสู่การป้องกันและแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดซ้ำตามกระบวนการของบริษัทฯ ทั้งนี้ ได้มีการติดตามผลการดำเนินการแก้ไขป้องกันจากการสอบสวนอุบัติเหตุ โดยผ่านทางที่ประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ประจำพื้นที่

2. การรายงานการกระทำที่ไม่ปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ปลอดภัย : เมื่อพนักงานพบเห็นสภาพการณ์การทำงานที่ไม่ปลอดภัย สามารถรายงานผ่านโปรแกรม (Safety PT Service) เพื่อเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์และดำเนินการแก้ไข และมีการติดตามผล โดยผ่านทางที่ประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ประจำพื้นที่

3. การรายงานสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและกฎหมายจากการตรวจประเมินภายใน : พีทีจี ได้จัดให้มีการตรวจประเมินภายในทางด้าน SSHE ตามระบบการบริหารจัดการความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม กลุ่มบริษัท พีทีจี และมาตรฐานสากล โดยมีการตรวจประเมินระบบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และมีกระบวนการในการติดตามแก้ไขผ่านกระบวนการออก Non-conformity Report

การดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมองค์กร

- การบริหารจัดการความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม คลังน้ำมัน
          ฝ่ายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมมุ่งพัฒนาระบบการบริหารจัดการความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องตามกฎหมายและมาตรฐานสากล โดยคลังน้ำมันมีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการความมั่นคง ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ของกลุ่มบริษัท พีทีจี ( PIG SSHEMS) มาประยุกต์ใช้ เป็นพื้นฐาน และจัดทำระบบการบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล (ISO 45001:2018) ทั้งนี้ได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายทางด้านความมั่นคง ความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเป็นกรอบการดำเนินโครงการภายในคลังน้ำมัน

- การตรวจสอบและอบรมด้านความปลอดภัยในสถานีบริการ
          ฝ่ายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการของสถานีบริการภายใต้แบรนด์ PT โดยได้มีการดำเนินการตรวจสอบความปลอดภัยภายในครอบคลุมทุกธุรกิจในสถานีบริการเพื่อค้นหาความเสี่ยงและสาเหตุของอันตรายต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัย อาชีวอนามัยของพนักงานและลูกค้าที่ใช้บริการ หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบริษัทและลูกค้า ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของสถานีบริการ เช่น ภายในตัวอาคารลานจ่าย ตู้จ่ายน้ำมัน โดยฝ่ายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมจะนำข้อมูลอันตราย ที่ได้มาแก้ไข ปรับปรุง และระบุมาตรการป้องกันก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุ (Accident) หรืออุบัติการณ์ (Incident) ขึ้นในสถานีบริการ รวมถึงรายงานต่อคณะกรรมการความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของบริษัทต่อไป และติดตามการดำเนินการแก้ไขจนกระทั่งดำเนินการแล้วเสร็จ ทั้งนี้ได้มีการนำประเด็นความเสี่ยงระดับสูงและสูงมาก รายงานให้ผู้บริหารรับทราบและดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนต่อไป ภายใต้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร

- การบริหารจัดการความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ขนส่ง การตรวจสอบและอบรมด้านความปลอดภัยสำหรับรถขนส่งน้ำมัน
          ฝ่ายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นความสำคัญของความปลอดภัยจากการขนส่งน้ำมันพีที ที่สดใหม่ทุกวัน ฝ่ายความปลอดภัยฯ ได้มีการมอบหมายพนักงานที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานประจำธุรกิจขนส่ง เพื่อวางแผนพัฒนา ระบบมาตรฐานการบริหารจัดการความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ของการขนส่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ภายใต้กรอบการบริหารจัดการของระบบ PTG SSHEMS

- การส่งเสริมความปลอดภัยให้แก่ผู้รับเหมา
          ฝ่ายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมมีการสื่อสารข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในการคัดเลือกบริษัทผู้รับเหมาของสถานีบริการที่มีการให้บริการเชิงพาณิชย์ รวมถึงจั ดทำและสื่อสารข้อบังคับด้านความปลอดภัยสำหรับผู้รับเหมา

- การป้องกันผลกระทบและอันตรายจากการดำเนินธุรกิจต่อชุมชน
         ฝ่ายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยจัดทำประชาพิจาร์ณ์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่เกี่ยวข้องรวมถึงชุมชนในบริเวณใกล้เคียงสถานีบริการน้ำมัน เชื้อเพลิง และสถานีบริการจำหน่ายแก๊สปีโตรเลียมเหลวแห่งใหม่ที่จะเปิดในทุก ๆ สาขา 

สถิติด้านความปลอดภัยในการทำงาน


ดาวน์โหลดความมุ่งมั่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

10076

10074

Loading...