การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

นโยบายการบริหารจัดการคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

พีทีจี ได้มีการทบทวนนโยบายการบริหารจัดการคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาถึงปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น แผนกลยุทธ์ทางด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ นโยบายการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาครัฐ ความเสี่ยงในการจัดการทางด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม รวมถึงประเด็นต่างๆตามระบบการบริหารจัดการทางด้านคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (ISO9001 ISO14001 ISO45001) โดยนโยบายฉบับใหม่ จะแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างจริงจังของบริษัท ในการแก้ไขปัญหาทางด้านมลพิษอากาศ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และเป้าหมายที่มุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

พีทีจี ได้เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้พนักงานได้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมภายในหลักสูตรด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม เช่น ผู้ปฏิบัติงานสถานีบริการน้ำมัน ความปลอดภัยสำนักงานใหญ่ (Basic Safety) เป็นต้น 


การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีการบูรณาการกับมาตรฐาน ISO

พีทีจี มีการนำระบบมาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (ISO14001:2015) มาประยุกต์ใช้ในกลุ่มบริษัทฯ โดยบูรณะการระบบการจัดการทุกด้านเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการคุณภาพ (ISO9001:2015) และระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย (ISO45001:2015) เพื่อให้การดำเนินการภายในองค์กรมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ลดการใช้ทรัพยากร และลดการปล่อยมลภาวะที่เกิดจากการดำเนินงานในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางเสียง และกากของเสียอันตราย ให้มีระบบการบริหารจัดการอย่างถูกต้องตามประเภทของมลพิษที่เกิดขึน

ในปี 2565 พีทีจี ได้รับการรับรองระบบมาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (ISO14001:2015) ภายใต้ขอบข่าย การรับ การเก็บ และการจ่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงภายในคลังน้ำมันแม่กลอง และคลังน้ำมันขอนแก่น โดยมีการวางแผนที่จะขยายขอบข่ายการรับรองไปยังคลังน้ำมันทุกสาขา ภายในปี 2025 เพื่อตอบสนองต่อนโยบายที่มุ่งเน้นการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดผลกระทบที่อาจมีความเสี่ยงสูงต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งสอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561–2580) และตามประกาศเจตนารมณ์ในที่ประชุมระดับผู้นำ COP26–27 นอกจากนี้ คลังน้ำมันแม่กลองได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการติดตามประเมินผล และทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม


นโยบายด้านบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน

พีทีจี กำหนดนโยบายด้านบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนเพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ในการบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจ ตามแนวคิดการบริหารจัดการขยะ โดยไม่กระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ สนับสนุนให้มีการลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลาย (reduce) นำกลับมาใช้ซ้ำ (re-use) หรือผ่านกระบวนการเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycle) เช่น การรณรงค์นำแกลลอนน้ำมันกลับมาใช้ซ้ำ และการลดการใช้ถุงพลาสติก ส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกแบบบรรจุภัณฑ์และคัดสรรคู่ค้าที่จัดส่งวัสดุ หรือผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงร่วมปลูกฝังวัฒนธรรมการลดการใช้บรรจุภัณฑ์และการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรผ่านการสร้างความตระหนักรู้ให้กับพนักงาน


ดาวน์โหลดนโยบายด้านบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน

การบริหารจัดการพลังงาน

เนื่องจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานเชื้อเพลิง รวมถึงการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในสำนักงาน และเพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปตามมาตรฐานต่าง ๆ พีทีจี จึงมีการบันทึกข้อมูลปริมาณพลังงานที่ใช้ เช่น ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงของรถขนส่ง หรือการใช้ไฟฟ้าภายในสำนักงาน เป็นต้น เพื่อให้ได้รับทราบแนวโน้มของการใช้พลังงานในแต่ละปี รวมทั้งการณรงค์ลดการใช้พลังงานหรือเลือกใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น


ผลการดำเนินงาน

โครงการรณรงค์ประหยัดค่าไฟฟ้าสํานักงานใหญ่

พีทีจี ดำเนินโครงการลดการใช้ไฟฟ้าภายในสำนักงานใหญ่อย่างต่อเนื่อง โดยสื่อสารให้พนักงานรับทราบถึงวิธีการประหยัดพลังงานและการใช้ไฟฟ้าอย่างเหมาะสมผ่านอีเมลและระบบอินทราเน็ตอย่างสม่ำเสมอในทุก ๆ วันศุกร์ และจัดกิจกรรมลุ้นรับรางวัล เพื่อให้พนักงานร่วมตอบคำถามการประหยัดพลังงานในสำนักงาน ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความตระหนักอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ บริษัทยังได้ดำเนินโครงการ Smart Plug คือการลดชั่วโมงการใช้ไฟของเครื่องทำน้ำร้อนน้ำเย็นจากวันละ 24 ชั่วโมงเป็น 15 ชั่วโมง สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 92,016 บาทต่อปี โดยดำเนินโครงการจำนวน 8 เครื่อง และสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานเครื่องทำน้ำร้อนน้ำเย็น โครงการรณรงค์ปิดไฟช่วงเวลากลางวันเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าช่วงเวลาที่ไม่จำเป็น โครงการเปิดไฟเฉพาะพื้นที่ที่มีคนนั่งทำงานเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าบริเวณที่ไม่ใช้งาน

สำหรับผลการดำเนินงานตามเป้าหมายในปี 2565 บริษัทมีปริมาณไฟฟ้าเฉลี่ยรายบุคคล (kWh/คน) ภายในสำนักงานใหญ่ลดลงจากปีฐาน (2562) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 18.73

 

โครงการสำคัญอื่น ๆ เกี่ยวกับการรณรงค์ลดการใช้ไฟฟ้าหรือประหยัดพลังงาน
- โครงการ Perk from Tash คือโครงการที่เป็นการรวบรวมขยะรีไซเคิลส่งอาคาร CW เพื่อรับ Point และสามารถนำ Point ไปแลกสิทธิประโยชน์ให้บริษัทฯได้ เช่น เป็นส่วนลดค่าบริการเครื่องปรับอากาศนอกเวลา เป็นต้น

- โครงการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง คือการควบคุมการใช้ปริมาณน้ำมัน โดยมีการดำเนินการเก็บข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามค่าปรับส่วนเกิน และรายงานผลการใช้น้ำมันแก่ผู้บริหารทุกเดือน


การบริหารจัดการน้ำ

น้ำเป็นทรัพยากรที่สำคัญสำหรับการประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรมและกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ อย่างไรก็ตามความเสี่ยงและผลกระทบจากปัญหาที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการใช้น้ำ เช่น ปัญหาขาดแคลนน้ำและคุณภาพน้ำ ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นในประเทศไทย ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำจึงมีความสำคัญเพื่อให้การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีน้ำใช้อย่างยั่งยืนโดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม

พีทีจี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนตระหนักความเสี่ยงและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการนำน้ำจากแหล่งน้ำมาใช้ในกิจกรรมและกระบวนการผลิตของบริษัทฯ และการปล่อยน้ำทิ้งที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมภายนอก รวมถึงต่อบริษัทฯ ดังนั้น พีทีจี จึงได้มีการวิเคราะห์คุณภาพน้ำก่อนที่จะปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนใกล้เคียง

เป้าหมายการจัดการน้ำของบริษัทในระยะ 3-5 ปี :ลดปริมาณการใช้ทรัพยากรน้ำภายในคลังน้ำมัน อย่างน้อย 3 % ต่อปี

มาตรการและแนวทางประหยัดน้ำ

พีทีจี มีการกำหนดมาตรการและแนวทางในการประหยัดน้ำ โดยมีการดำเนินการปรับอัตราการไหลของน้ำให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ชำรุดเพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหลของน้ำ ดำเนินการเปลี่ยนสุขภัณฑ์เพื่อการประหยัดน้ำที่สถานีบริการ บันทึกปริมาณน้ำรายวันเพื่อเป็นข้อมูลในการควบคุมการใช้น้ำ และมีการกำหนดตัวชี้วัดในการควบคุมค่าน้ำที่สถานีบริการ การดำเนินการต่าง ๆ บริษัทดำเนินการเพื่อเป็นแนวทางในการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และลดการสูญเสียน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์


กิจกรรมลดค่าความสกปรกของน้ำทิ้งจากสถานีบริการ

ไม่ทิ้งขยะมูลฝอยและเศษอาหาร ลงสู่รางระบายน้ำโดยตรง และการทำความสะอาดบ่อดักไขและรางระบายน้ำ ทุกสัปดาห์

กิจกรรมลดการใช้น้ำที่สถานีบริการ

-      ผู้จัดการสาขาจดมิเตอร์น้ำรายวันแต่ละช่วงเวลา เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของปริมาณการใช้น้ำ

-      ผู้จัดการสาขาหรือผู้จัดการเขตสำรวจจุดรั่วซึมตามอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมแจ้งการเข้าซ่อมแซม

-      กำหนดการใช้น้ำของแม่บ้าน ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้ตอนล้างห้องน้ำ โดยให้ใช้วาล์วเปิด-ปิดที่ปลายสายยางแทน

-      ปรับแรงดันของวาล์วน้ำในระดับแรงที่ไม่กระทบการใช้น้ำและการให้บริการ

โครงการสำคัญอื่น ๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำหรือลดการใช้น้ำ

-          โครงการ SAFETY ACTIVITY การดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย ภายในสถานีบริการ โดยบ่อดักไขมัน  มีความสำคัญในการบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมดภายในสถานีบริการก่อนที่จะปล่อยออกสู่สาธารณะ ผู้จัดการสถานีบริการจะต้องตรวจสอบและทำความสะอาดบ่อดักไขมันทุกสัปดาห์ เพื่อป้องกันข้อร้องเรียนจากชุมชนโดยรอบสถานีบริการและหน่วยงานราชการ ดังนั้นจึงมีการจัดทำวิธีในการทำความสะอาดบ่อดักไขมัน ซึ่งมีการจัดทำเป็นคลิป VDO โดยผู้เข้าชมสามารถ scan QR Code เพื่อศึกษาวิธีการทำความสะอาดบ่อดักไขมัน


การบริหารจัดการขยะ

พีทีจี ดำเนินการบริหารจัดการขยะและของเสียตามขั้นตอนปฏิบัติงาน เรื่องการกำจัดขยะและของเสีย ซึ่งเป็นแนวทางในการจัดการขยะและของเสียของในสถานที่ปฏิบัติงานจากกระบวนการต่าง ๆ หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้น โดยระบุถึงการรวบรวม การจัดเก็บ และการกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อลดปัญหาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม


เป้าหมายการจัดการขยะและของเสียของบริษัทในระยะ 3-5 ปี : บริษัทมีการกำหนดเป้าหมายในการจัดการขยะไม่อันตรายและขยะอันตรายให้ลดลงร้อยละ 5 ต่อปี โดยมีขอบเขตการดำเนินงานที่คลังน้ำมัน และสำนักงานใหญ่

กิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทที่มีการสร้างขยะออกสู่สิ่งแวดล้อม 

 

พีทีจี มีการสื่อสาร รณรงค์ ส่งเสริม และสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงานภายในองค์กรโดยยึดหลัก 3R คือ Reduce Reuse Recycle เพื่อลดปริมาณการเกิดขยะภายในองค์กร และนำขยะที่สามารถ
รีไซเคิลได้เข้าสู่กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักการ
Circular Economy
(ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน)

การบริหารจัดการขยะหรือของเสียแต่ละประเภทของบริษัท

 

พีทีจี ให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะของพนักงานเพื่อสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่จุดเริ่มต้น มีตรวจสอบการคัดแยกขยะโดยหัวหน้างานในแต่ละพื้นที่  และจัดเก็บขยะแต่ละประเภทในพื้นที่โรงพักขยะ แล้วดำเนินการบันทึกปริมาณขยะที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การวางแผนการจัดการ การส่งกำจัดขยะแต่ละประเภทตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่

 

-          โครงการยางหล่อดอก

พีทีจี จัดทำโครงการการใช้ยางหล่อดอก สำหรับหัวลากรถ พร้อมทั้งหางเทรลเลอร์ เพื่อให้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ยางให้คุ้มค่าได้มากขึ้น ช่วยลดขยะของยางที่ไม่ใช้งานแล้ว อีกทั้งยังสามารถช่วยลดปริมาณในการใช้ยางใหม่ได้ และสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในองค์กรจากการนำยางเก่ามารีไซเคิลใช้ใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2560 ต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน โดยในปี 2565 บริษัทมีเป้าหมายในการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ยางใหม่ คิดเป็น 8,074,940  บาท ซึ่งในปี 2565 จำนวนยางที่นำมาหล่อดอกใหม่ มีทั้งหมด 621 เส้น จากเป้าหมายจำนวน 1,000 เส้น เนื่องจากสภาพโครงยางเก่าไม่สามารถนำกลับมาหล่อดอกใหม่ได้ ทำให้จำนวนยางที่หล่อดอกได้ลดลง โดยในปี 2565 บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 4,228,643.82 บาท ซึ่งลดค่าใช้จ่ายได้น้อยกว่าปี 64 คิดเป็น 52%

 

โครงการสำคัญอื่น ๆ เกี่ยวกับการจัดการขยะ

-          Waste Separation Model Project Season 2

Waste Separation Model Project Season 2เป็นโครงการเพื่อรีไซเคิลขวดน้ำประเภทพลาสติกใส โดยนำไปผลิตเป็นเสื้อ และส่งมอบให้กับนักเรียน คุณครู โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านรักไทย จังหวัดพิษณุโลก โดยโครงการในปี 2565 สามารถผลิตเสื้อได้ 53 ตัว ซึ่งเป็นโครงการเริ่มต้น และวางแผนที่จะขยายผลไปยังสถานีบริการอื่น ในปี 2566

-          โครงการ SCGP reXycle Drop Point

พีทีจี ร่วมกับ SCGP ตั้งจุดรับกล่อง-ลังกระดาษและพลาสติก ภายในสถานีบริการน้ำมัน PT พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อรีไซเคิลและนำกลับใช้ประโยชน์ใหม่ ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน และสามารถช่วยลดวิกฤตขยะล้นเมืองอย่างยั่งยืน

โดยผลการดำเนินงานในปี 2565 พีทีจี สามารถรีไซเคิลได้ 420 กิโลกรัม คิดเป็นการลดการตัดต้นไม้ได้ 7 ต้น ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 286 กิโลกรัม ลดการใช้น้ำได้ 10,920 ลิตร ลดการใช้เชื้อเพลิงได้ 588 ลิตร และลดการใช้พลังงานได้ 1,680 กิโลวัตต์

 

-          โครงการจุดคัดแยกขยะ

โครงการจุดคัดแยกขยะ เป็นโครงการสร้างโรงคัดแยกขยะในพื้นที่คลังน้ำมัน โดยสร้างเป็นพื้นที่ทิ้งขยะตามแต่ละประเภทขยะ ซึ่งเป็นโครงการเพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักให้มีการคัดแยกขยะที่คลังน้ำมัน

10076

10074

Loading...