การกำกับดูแลกิจการ

การกำกับดูแลกิจการที่ดี


พีทีจี กำหนดนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการ การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น จริยธรรมและจรรยาบรรณทางธุรกิจ และแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการทำหน้าที่ในการกำกับดูแลให้การดำเนินงานของกลุ่มบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ รวมถึงทบทวนและปรับปรุงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการให้มีความเหมาะสมต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติระดับสากล


คณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยกรรมการจำนวน 10 คน เป็นกรรมการที่มิใช่ผู้บริหาร 8 คน กรรมการที่เป็นผู้บริหารจำนวน 2 คน ซึ่งมีกรรมการอิสระ จำนวน 4 คน พีทีจี ให้ความสำคัญกับความหลากหลากหลายของคณะกรรมบริษัท ไม่ปิดกั้นต่อเพศ ศาสนา เชื้อชาติ ทักษะ ประวัติการศึกษา และประสบการณ์ โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะทางธุรกิจของบริษัท บริษัทมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยที่มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ และอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ซึ่งประกอบไปด้วย
    


ดาวน์โหลดนิยามกรรมการอิสระ

ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการบริษัท (Board Industry Experience & Expertise)

พีทีจี ได้พิจารณาถึงองค์ประกอบในเรื่องความหลากหลายของคณะกรรมการ ได้แก่ สัดส่วนกรรมการอิสระและกรรมการที่เป็นเพศหญิง (ความหลากหลายทางเพศ) ความหลากหลายทางเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา อายุ รวมถึงทักษะ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอันสอดคล้องกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท (Materials Industry) ตาม Board Skills Matrix รวมทั้งได้พิจารณาจากบัญชีรายชื่อหรือฐานข้อมูลกรรมการ (Director’s Pool) และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) เพื่อส่งเสริมให้องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทมีความหลากหลายและเหมาะสมเพื่อให้คณะกรรมการบริษัทมีองค์ประกอบตามที่กำหนด

การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ

เพื่อให้การกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการบริษัทได้ทำแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อร่วมกันพิจารณาผลงานและปรับปรุงแก้ไขต่อไป โดยมีการประเมินรายบุคคลและรายคณะ 2 รูปแบบดังนี้ 1) การประเมินคณะกรรมการบริษัท และ 2) ประเมินคณะกรรมการชุดย่อย รายละเอียดปรากฏในแบบ 56-1 One Report หัวข้อ “รายงานผลการดำเนินสำคัญงานด้านการกำกับดูแลกิจการ”


การพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการ

ตามนโยบายของบริษัท พีทีจี ส่งเสริมให้กรรมการทุกท่านได้รับการพัฒนาและเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพเพิ่มเติม อาทิ การเข้าอบรมหลักสูตรจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Institute of Thai Directors: IOD) หรือหลักสูตรและการสัมนาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท โดยในปี 2564 กรรมการบริษัทได้เข้าอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ดังนี้


จรรยาบรรณธุรกิจและการต่อต้านการทุจริต

ในปี 2564 คณะกรรมการบริษัทได้มีการทบทวนปรับปรุงนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น นโยบายการให้ หรือรับของขวัญ หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด และคู่มือจริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct) เพื่อให้ครบถ้วน ครอบคลุมถึงการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นในทุก ๆ ด้าน รวมถึงเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ และการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ บริษัทได้ปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น ซึ่งได้รับการรับรองจากโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (Collective Action Coalition: CAC มาโดยตลอด โดยได้ร่วมลงนามในคำประกาศเจตนารมณ์ของแนวร่วมปฏิบัติ ของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2557 และได้รับการต่ออายุการรับรองเข้าเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2564 และสิ้นสุดการรับรองในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)


การสื่อสารและกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการต่อต้านการทุจริต

พีทีจี ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ภายใต้นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และคู่มือจริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจ โดยมีการสื่อสารนโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องให้ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทได้รับทราบ สำหรับผลการดำเนินงานของปี 2564 มีรายละเอียดดังนี้
- จัดหลักสูตรปฐมนิเทศให้กับพนักงานใหม่ในหัวข้อ การต่อต้านการทุจริต จริยธรรมและจรรยาบรรณของธุรกิจ และการบริหารความเสี่ยง โดยมีพนักงานใหม่เข้าร่วมทั้งสิ้น จำนวน 252 คน
- จัดให้มีการอบรมให้ความรู้ หลักสูตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น จริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจ ให้กับพนักงานและผู้บริหาร (On Boarding) ของกลุ่มบริษัท และจัดอบรมหลักสูตร ทำงานอย่างไรให้โปร่งใส ไร้ทุจริต แบบคน PT ให้แก่พนักงาน ปีละ 1 ครั้ง โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องการกำกับดูแลกิจการ การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ตลอดจนการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร
- กำหนดให้พนักงานร่วมจัดทำแบบประเมินความตระหนักรู้ในเรื่องการกำกับดูแลกิจการ จริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจ เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิผลความตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการของพนักงาน และส่งเสริมการปฏิบัติงานบนพื้นฐานของการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- สื่อสารแนวปฏิบัติในการบริจาคหรือสนับสนุนเงินหรือสิ่งของเพื่อการกุศลฉบับปรับปรุงให้กับบุคลากรได้รับทราบรวมถึงจัดอบรมให้หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานดังกล่าวได้นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน
- บริษัทได้มีการประกาศงดรับ หรือให้ของขวัญ หรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด (No Gift Policy) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ และในโอกาสอื่นใด ผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.ptgenergy.co.th และจดหมายจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ถึงคู่ค้า ของกลุ่มบริษัท ทั้งภายในและภายนอกบริษัท

  

โดยในปี 2564 มีข้อร้องเรียนที่ได้รับผ่านทางช่องทาง whistleblowing ที่ไม่สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการและจริยธรรมและจรรยาบรรรธุรกิจ จำนวน 28 กรณี ตัวย่างเช่น ข้อร้องเรียนที่พบว่าพนักงานมีการกระทำผิดเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินของผู้อื่น เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท โดยบริษัทได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวน เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่าย หากการกระทำนั้นก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทและผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท จะดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท


การสนับสนุนองค์กร และสมาคมภายนอก


รายชื่อองค์กร ประเภทองค์กร จำนวนเงินที่สนับสนุน (บาท)
2561 2562 2563 2564
สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย สมาคมการค้า
100,000

สมาคมอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน (IESG) 225,000 225,000 900,000 495,000
สมาคมคนพิการภาคตะวันออก 1,239,000 50,000

สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย 7,000 25,000 25,000 25,000
สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ 100,000 100,000

สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน 30,000 30,000 30,000 60,000
สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย 30,000


สมาคมกีฬารถจักรยานยนต์ 360 องศา

450,000

สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

75,000

สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย
3,000 1,250
สมาคมประสานงานรถรับจ้างสุวรรณภูมิ


98,400
สมาคมเยาวชนสตาร์ทอัพ


300,000
สภากาชาดไทย องค์กรการกุศล


50,000
รวม 1,631,000 1,058,000 956,250 1,028,400

การดำเนินการด้านภาษี

พีทีจี มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการด้านภาษี จึงได้กำหนดนโยบายภาษีขึ้นมาเพื่อเป็นกรอบในการทำงานของกลุ่มบริษัท และรักษาผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายควบคู่ไปกับการสร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุดตามหลักบรรษัทภิบาลที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอ โปร่งใสและมีจริยธรรม

   ดาวน์โหลดนโยบายภาษี

รายงานภาษี
ปี 2564 พีทีจี มีภาษีเงินได้ เท่ากับ 260 ล้านบาท โดยอัตราภาษีที่แท้จริง (effective tax rate) ที่บริษัทจ่าย เท่ากับ 20.40 % ซึ่งมากกว่า อัตราร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากรของกฏหมายสำหรับประเทศไทย เนื่องจาก บริษัทมีรายจ่ายของผลขาดทุนของสินค้าขาดหายจากรายงานสินค้าคงเหลือน้ำมัน

การรายงานทางการเงิน หน่วย 2563 2564
รายได้รวม ล้านบาท 104,666.06 133,758.82
กำไรจากการดำเนินธุรกิจก่อนจ่ายภาษี 2,331.08 1,277.44
ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย 236.18 96.14
ภาษีเงินได้นิติบุคคลจ่ายเสร็จสิ้น 369.83 515.75
ภาษีจ่าย 424.89 260.60
อัตราภาษีที่แท้จริง % 18.23 20.40%
ภาษีเงินสด ล้านบาท 369.83 515.75
อัตราภาษีเงินสด % 15.87 40.37%
จำนวนพนักงาน (FTE) คน 17,293 16,727


การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤติ

กลยุทธ์และระบบบริหารจัดการการจัดซื้อ

พีทีจี มีนโยบายในการจัดหาและคัดเลือกคู่ค้า ซึ่งรวมถึง ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้จำหน่าย ผู้แทนจำหน่าย ผู้ให้บริการ หรือผู้รับจ้าง อย่างมีระบบ เป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนคู่ค้าให้ดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม โดยได้กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ค้าหลังส่งมอบสินค้าและบริการ เพื่อให้มั่นใจว่าการซื้อสินค้า การว่าจ้างเหมาช่วง และการจ้างงานบริการ เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยบริษัทกำหนดให้ผู้ขายและผู้ให้บริการปัจจุบันที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของผู้ขายหรือผู้ให้บริการที่อนุมัติแล้ว (Approved Supplier List) ต้องได้รับการประเมินศักยภาพในการจัดซื้อจัดจ้างอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ บริษัทได้มีการพัฒนาระบบการขออนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างพิเศษ ในกรณีที่มีการจัดซื้อแบบเร่งด่วน และระบบบริหารจัดการการจัดซื้อ (Vendor Relationship Management: VRM) เพื่อสนับสนุนข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในทุก ๆ ด้าน โดยคู่ค้าสามารถตรวจสอบคำสั่งซื้อ รายงานการขาย ข้อมูลทางบัญชี สถานะการรับ-ส่งมอบสินค้า และสื่อสารข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ระหว่างคู่ค้ากับบริษัท

 ดาวน์โหลดกลยุทธ์การบริหารห่วงโซ่อุปทาน

 ดาวน์โหลดการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

แนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

พีทีจี กำหนดจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับบริษัทคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) เพื่อให้คู่ค้าใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ สอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมาย และจรรยาบรรณของบริษัท ตลอดจนแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งจะช่วยผลักดันให้คู่ค้าของบริษัทดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน มีความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน รวมถึงปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ บริษัทได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในระยะที่ 2 (VRM Phase II) เพื่อมาช่วยสนับสนุนในการดำเนินการด้านความยั่งยืนร่วมกับคู่ค้า โดยมีการปรับปรุงระบบให้มีความทันสมัยขึ้น มีการนำขั้นตอนใหม่ๆ มาทดแทนการทำงานแบบเดิม อาทิ การประเมินการให้บริการ online เมื่อมีการรับสินค้า การจัดทำ E-Catalog เพื่อสนับสนุนหน่วยงานผู้ขอซื้อ ในการเลือกซื้อสินค้าให้ถูกต้องตรงตามความต้องการ และสามารถเชื่อมต่อไปสร้างใบขออนุมัติซื้อ (PR) และใบสั่งซื้อ (PO) ได้ รวมทั้งกำหนดให้มีการนำจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับบริษัทคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) และแบบประเมินตนเองของคู่ค้าในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) เข้าระบบ เพื่อให้คู่ค้ารายใหม่ ได้ทำการประเมินก่อนมีการจัดซื้อจัดจ้างกับบริษัท รวมถึงคู่ค้ารายปัจจุบันได้มีการประเมินตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงอำนวยความสะดวกให้กับคู่ค้ามากขึ้นด้วย

 ดาวน์โหลดจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับบริษัทคู่ค้า

 ดาวน์โหลดนโยบายในการจัดหาและคัดเลือกคู่ค้า

การกำหนดกลุ่มและวิเคราะห์คู่ค้าสำคัญ (Critical Tier 1 Suppliers)

พีทีจี ได้พัฒนากระบวนการบริหารความเสี่ยงห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุมคู่ค้ากลุ่มธุรกิจน้ำมันและธุรกิจ Non-oil โดยมีการดำเนินการจำแนกกลุ่มคู่ค้าออกเป็นคู่ค้าที่ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง (Tier 1 Suppliers) คู่ค้าสำคัญของบริษัทโดยตรง (Critical Tier 1 Suppliers) และคู่ค้าสำคัญที่ไม่ได้ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง (Critical Non-oil 1 Suppliers) โดยเกณฑ์ในการวิเคราะห์กำหนดไว้ดังนี้

1. ปริมาณยอดการสั่งซื้อ

2. ความสำคัญของสินค้า/บริการต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท

3. ระดับของการพึ่งพาคู่ค้า หรือการทดแทนกันของสินค้า

การประเมินความเสี่ยงด้าน ESG และการตรวจประเมินคู่ค้า

พีทีจี มีการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของคู่ค้าที่ดำเนินธุรกิจกับบริษัท โดยจะมีการประเมินความเสี่ยงทุก 3 ปี ซึ่งครอบคลุมคู่ค้ากลุ่มธุรกิจน้ำมัน และธุรกิจ Non-oil ตามเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนทั้งในมิติโอกาสเกิดและผลกระทบจากความเสี่ยงด้าน ESG ครอบคลุมประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม อาทิ ความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจของคู่ค้าที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความเสี่ยงจากสถานที่ปฏิบัติงานหรือโรงงานสร้างผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ ความเสี่ยงจากการส่งมอบสินค้า/บริการไม่ทันตามกำหนด เป็นต้น เมื่อได้กลุ่มคู่ค้าที่มีระดับความเสี่ยงสูงและสูงมาก บริษัทจะดำเนินการเข้าตรวจประเมินคู่ค้าด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG Audit) เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าความเสี่ยงที่พบได้รับการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม

คำจำกัดความของคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนในระดับสูง

ผลการกำหนดกลุ่มและวิเคราะห์คู่ค้าสำคัญ ปี 2564

ผลการตรวจประเมินคู่ค้าด้าน ESG

บริษัทได้ดำเนินการตรวจประเมินคู่ค้าด้าน ESG แบบระยะไกล (ESG e-Audit หรือ Remote Audit) จำนวน 12 ราย จากเป้าหมายที่กำหนดไว้จำนวน 10 ราย จากการเข้าตรวจพื้นที่ปฏิบัติงานของคู่ค้าที่ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง (Critical Tier 1 Suppliers) และคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูงพบประเด็นความเสี่ยงด้านความยั่งยืน ได้แก่ เรื่องการดำเนินธุรกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน รวมถึงความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เป็นต้น ทั้งนี้ ในการตรวจประเมินคู่ค้าด้าน ESG บริษัทได้ร่วมให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในการพัฒนากระบวนการดำเนินงานด้าน ESG เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาความยั่งยืนให้แก่บริษัทคู่ค้า และนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านความยั่งยืน อีกทั้ง บริษัทคู่ค้ายังได้แบ่งปันและให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงาน ทำให้ทีมงานของบริษัทได้เรียนรู้ เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการของบริษัทได้อีกด้วย ซึ่งถือเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ทำงานและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจร่วมกันและเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนต่อไป

การบริหารห่วงโซ่อุปทาน

พีทีจี มุ่งที่จะเชื่อมต่อความต้องการระหว่าง Online และ Offline เข้าด้วยกัน (O2O solution) เพื่อให้การวางแผนการตลาดสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการเพิ่มเครือข่ายจำนวนสมาชิกของบัตร PT Max Card เพื่อพัฒนาสินค้าและการบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ บริษัทยั่งมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนด้วยการเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อสินค้าและบริการของชุมชนกับลูกค้า และสร้างงานในชุมชนจากการขยายเครือข่ายของสถานีบริการเพื่อก่อให้เกิดความ “อยู่ดี มีสุข" อย่างครบวงจร

มาตรฐานการบริการลูกค้าภายในสถานีบริการ

พีทีจี กำหนดให้พนักงานปฏิบัติตามมาตรฐานการบริการ 5 ขั้นตอน และมีการควบคุมมาตรฐานการบริการ ได้แก่ การควบคุมมาตรฐานภายใน จากผู้จัดการสถานีเขต และผู้จัดการภาค : Walk the store / Shift Changes Book การควบคุมมาตรฐานภายนอก จาก Mystery shopper หรือ Call center 1614 และการประกวดให้รางวัล พนักงานที่ทำดีและได้รับคำชมจากลูกค้า เช่น กิจกรรม Best of customer voices


นโยบายการสื่อสารข้อมูลผลกระทบจากสินค้าหรือบริการ

พีทีจี มุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า โดยการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามความต้องการของลูกค้า และเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า และบริการอย่างครบถ้วน โดยทำการตลาดอย่างมีความรับผิดชอบและไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงต่อลูกค้า และมุ่งมั่นที่จะให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการนั้นๆ ที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับการตัดสินใจของผู้บริโภคผ่านการตลาดและการสื่อสารต่างๆ จึงได้มีการจัดทำนโยบายการสื่อสารข้อมูลผลกระทบจากสินค้าหรือบริการ โดยหากลูกค้าได้รับผลกระทบจากสินค้าและบริการของบริษัท สามารถร้องเรียนผ่านทางช่องการการติดต่อได้ทาง PT Call Center โทร 1614 หรือโทร 02-030-1446 หรือผ่านทาง Facebook : PT Station และผ่านทางเว็บไซต์ของกลุ่มบริษัท เว็บไซต์ https://www.ptgenergy.co.th/ ในหัวข้อแนวทางการแจ้งเบาะแส / ข้อร้องเรียนการคอร์รัปชั่น ในช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียนด้านบริการ

 ดาวน์โหลดนโยบายการสื่อสารข้อมูลผลกระทบจากสินค้าหรือบริการ


นโยบายและมาตรการการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของลูกค้า

พีทีจี ให้ความสำคัญ และเคารพความเป็นส่วนตัวและตระหนักถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคล ให้เป็นไปตามกฎหมาย และตามมาตรฐานสากล จึงได้กำหนดนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า คู่ค้า คู่สัญญา พนักงาน และบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัทเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทได้เก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย หรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังบุคคลภายนอก และ/หรือต่างประเทศนั้น ได้รับความคุ้มครอง และเป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ ข้อมูลทางด้านการตลาด การสั่งซื้อและการให้บริการลูกค้าจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ และการเข้าถึงข้อมูลสามารถเข้าถึงโดยบุคคลที่ได้รับสิทธิเท่านั้น ทั้งนี้ หากจะใช้เปิดเผย หรือถ่ายโอนข้อมูลดังกล่าวไปยังบุคคลอื่น จะต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิตามกฎหมาย และจะต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลผู้เป็นเจ้าของข้อมูลล่วงหน้า

 ดาวน์โหลดนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

การพัฒนาระบบและเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนความสัมพันธ์กับลูกค้า

• การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มช่องทางบริการ ผ่านให้บริการลักษณะออนไลน์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าที่เดินทางไปยังจุดให้บริการไม่ได้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และพัฒนาปรับปรุงการให้บริการให้ตรงความต้องการผ่านการใช้ข้อมูลในอดีต (Data Driven) เช่น บริการทักสั่งได้ การจัดทำโปรโมชันส่งเสริมการขายด้วยการวิเคราะห์พฤติกรรมเฉพาะกลุ่มสมาชิก รวมทั้ง การพัฒนาเครื่องมือในการเพิ่มจุดให้บริการสำหรับสมาชิก MAX Card ขยายไปยังธุรกิจอื่น ๆ และพันธมิตรด้วยแนวคิด Co-creation
• การใช้ QR payment ชำระค่าบริการแบบไร้สัมผัส โดยที่ผ่านมาได้มีการทดสอบความปลอดภัยของการชำระเงินแบบ QR Payment กับสถาบันการเงินต่าง ๆ ในทุกกลุ่มธุรกิจ และในสาขาต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยนำร่องใช้ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดหัวเมืองใหญ่เป็นลำดับแรก เพื่อลดการสัมผัสเงินสด หรือ บัตรเครดิตที่จะเกิดขึ้นจากการชำระค่าสินค้าและบริการในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และเพื่อสวัสดิภาพด้านสาธารณสุขของพนักงานและลูกค้าเป็นสำคัญ
• การพัฒนาระบบ Customer Relationship Management (CRM) เพื่อจัดเก็บข้อมูลแคมเปญ กิจกรรม ขั้นตอนการทำงานปัจจุบัน และผลสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า พร้อมทั้งข้อเสนอแนะ ไว้ในแหล่งข้อมูลกลางเดียวกัน โดยสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงคิดค้นธุรกิจใหม่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ามากขึ้นในอนาคต

พีทีจี มีการประเมินความพึงพอใจของลูกค้าโดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1. การประเมินกลุ่มลูกค้าผู้บริโภค (End user) ณ จุดให้บริการโดยใช้เทคนิคการประเมินแบบ Net Promoter Score (NPS) กล่าวคือ เมื่อลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ ณ จุดให้บริการ และมีการสะสมแต้มแล้วเสร็จ จะมีการส่งแบบสอบถามไปยังลูกค้าในกลุ่มที่เข้ามาใช้บริการที่สถานีบริการ

2. การประเมินกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการสถานีบริการ (Dealer Owned Dealer Operate: DODO) การประเมินวิธีนี้จะประเมินความพึงพอใจลูกค้ากลุ่มผู้ประกอบการสถานีบริการโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นการประเมินการให้บริการจากฝ่ายงานต่าง ๆ ที่ให้บริการกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการสถานีบริการ ครอบคลุม การขนส่งน้ำมัน การให้บริการในคลังน้ำมัน การให้บริการทางบัญชี เป็นต้น

หมายเหตุ* : ผู้บริโภค (End User) หมายถึง ผู้บริโภคที่มาซื้อหรือใช้สินค้าและบริการภายใต้แบรนด์ PT เช่น สถานีบริการ PT สถานี LPG ร้าน กาแฟพันธุ์ไทย และร้านแก๊ส PT และลูกค้าผู้ประกอบการสถานีบริการ หมายถึง ลูกค้าแฟรนไชส์ Dealer Owned Dealer Operated (DODO) ซึ่ง บริษัทมีหน้าที่ช่วยให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการ และจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับลูกค้าแฟรนไชส์


การปรับปรุงผลการดำเนินงานเพื่อยกระดับความพึงพอใจลูกค้า

เมื่อได้ผลการประเมินความพึงพอใจของลูกค้าแล้วจะนำมาเข้าสู่การประมวลผล และส่งผลการประเมินไปยังผู้เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงการให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าต่อไป โดยมีการนำผลการประเมินความพึงพอใจมาพัฒนารูปแบบแคมเปญ และการบริการให้สอดคล้องกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เช่น การพัฒนารูปแบบการให้บริการภายในสถานีบริการ รวมถึงการออกแบบกิจกรรมแคมเปญต่าง ๆ เช่น แคมเปญที่เกี่ยวกับการใช้แต้มเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษ หรือ การใช้ E-Stamp ในการแลกสินค้ากลุ่มที่ระลึก เป็นต้น


สถิติการร้องเรียนเกี่ยวกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของลูกค้า

พีทีจี มีช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนผ่านช่องทางต่างๆ เช่น Call Center 1614 หรืออีเมล customer_service@pt.co.th Facebook Fan page และ Mobile application PT Max reward โดยในปี 2564 สามารถสรุปข้อร้องเรียนจากลูกค้าได้ดังนี้

ประเด็น ผู้ร้องเรียน 2563 (กรณี) 2564 (กรณี)
จำนวนการร้องเรียนที่สำคัญด้านการละเมิดความเป็นส่วนตัวของลูกค้าและการสูญเสียข้อมูลลูกค้า บุคคลภายนอกและได้รับการยืนยันจากองค์กร 0 0
หน่วยงานกำกับดูแล* 0 0
จำนวนเหตุการณ์ที่มีการรั่วไหล ถูกขโมย และการสูญเสียข้อมูลลูกค้า 0 0

* หน่วยงานกำกับดูแล ที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ หรือเป็นหน่วยงานอิสระที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย


การบริหารความสัมพันธ์และความรับผิดชอบต่อลูกค้า

แผนการพัฒนาศักยภาพและความสามารถด้าน Cyber Security ทั้งในเชิงเป้าหมาย กลยุทธ์การดำเนินการ โครงการที่เกี่ยวข้อง และรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน ได้ถูกพิจารณาและอนุมัติโดยคณะผู้บริหารระดับสูง และคณะกรรมการบริษัท เช่น โครงการ Uplift Cyber Security โครงการ Security Operations Center (SOC) และ โครงการทดสอบ Email Phishing สำหรับพนักงาน เป็นต้น โดยจะมีการสื่อสาร และเผยแพร่ต่อสาธารณะชนผ่านช่องทางที่เหมาะสมในอนาคต เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายเกิดความเชื่อมั่น เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะดูแลรักษาและป้องกันภัยทางด้าน Cyber Security อย่างเป็นรูปธรรมของบริษัท รวมทั้งแสดงถึงการได้รับการสนับสนุนทั้งทางด้านงบประมาณ และนโยบายจากฝ่ายบริหาร รวมถึงคณะกรรมการบริษัทอย่างเป็นสาระสำคัญ

โครงสร้างการกำกับดูแลความปลอดภัยสารสนเทศ และความปลอดภัยทางไซเบอร์

พีทีจี มีการกำกับดูแลความปลอดภัยสารสนเทศ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับการกำกับดูแล ระดับบริหาร และระดับปฏิบัติการ

ดาวน์โหลดข้อมูลผู้รับผิดชอบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความปลอดภัยทางไซเบอร์

กระบวนการและโครงสร้างพื้นฐานของสารสนเทศและไซเบอร์

ปัจจุบันนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของพีทีจีที่สอดคล้องตามระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการ กฎหมายไทย และมาตรฐานสากล คือ ISO27001:2013 ซึ่งได้รับการตรวจสอบและให้ความเชื่อมั่นอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานตรวจสอบภายใน และบริษัทผู้ตรวจสอบภายนอก ตามมาตรฐานในระดับสากล ซึ่งเนื้อหาของนโยบายดังกล่าวจะจัดให้มีการทบทวน และสอบทานให้ทันสมัยเป็นประจำทุกปีโดยฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนงานกลยุทธ์และกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

อีกทั้งมีการดำเนินงาน การติดตาม การควบคุม และการดูแลความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในทางปฏิบัติตามนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลบังคับใช้บนระบบการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนงานโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทดสอบการบุกรุกระบบ (Penetration Test) และการตรวจหาช่องโหว่ของระบบสารสนเทศ (Vulnerability Assessment) เป็นต้น นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเตรียมแผนการรับมือและแก้ไขภัยคุกคามด้าน Cyber Attacks ที่อาจจะเกิดขึ้น จึงมีการกำหนดและแบ่งระดับความเสียหายจากช่องโหว่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Vulnerability Severity Levels) ออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับวิกฤต (Critical) ระดับสูง (High) ระดับกลาง (Medium) และระดับต่ำ (Low) โดยมีการกำหนดแผนงาน ขั้นตอนการปฏิบัติ ผู้ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมทั้งวิธีการสื่อสารและรายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ สอดคล้องกับระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น หากเกิดเหตุการณ์จริง

 ดาวน์โหลดนโยบายด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

มาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ การตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ การซ้อมแผนฉุกเฉิน และการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

นอกจากมาตรการต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น พนักงานของบริษัทสามารถสอบถามรายงานความผิดปกติ และแจ้งความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการโจมตีใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Cyber Security ผ่านระบบการให้บริการ “IT Service center” ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ในการปฏิบัติงาน โดยจะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศรับเรื่องไปดำเนินการตามกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงานที่ออกแบบไว้โดยเร็วที่สุด (Incident report and escalation process) ทั้งนี้ การสื่อสารและรายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ ตั้งแต่ระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ ถึง ผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการติดตามผลจนกว่าจะแก้ไขประเด็นปัญหาจบสิ้น

สำหรับการทดสอบแผนงานการรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (BCP) ประจำปี 2564 ได้กำหนดแผนการทดสอบเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินอันเนื่องมาจากการถูกโจมตีระบบงานสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท บนสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจริง ซึ่งถือเป็นการเตรียมความพร้อม และสร้างความพร้อมในการปฏิบัติงานหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริงให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานสนับสนุนต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมด รวมทั้งเพื่อทดสอบความสามารถของเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ที่ใช้บนสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจริงของบริษัทในการกู้ระบบงานและข้อมูลกลับคืนมา

โครงการพัฒนาความรู้เรื่องความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

พีทีจี ให้ความสำคัญในการสื่อสารนโยบาย รวมทั้งบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงพนักงาน ทั้งที่พึ่งเริ่มงานใหม่ และที่ทำงานในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจัดทำโดยฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และได้รับความอนุเคราะห์ด้านการสื่อสารโดยฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อให้ทุกท่านเกิดความตระหนักรู้ ร่วมกันเฝ้าระวัง และทราบถึงแนวทางปฏิบัติเมื่อพบเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยง หรือเกิดความเสียหายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิเช่น

• การอบรมความรู้ด้าน Cyber security ให้กับพนักงานใหม่

วันแรกของการเริ่มงาน พนักงานใหม่ทุกตำแหน่งจะได้รับการอบรมหลักสูตรการปรับพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบริษัท ตลอดจนกฏระเบียบบริษัทต่าง ๆ รวมทั้งการให้ความรู้และการทำแบบทดสอบที่เกี่ยวข้องกับ Cyber Security ได้แก่ Physical Access Control, Information and Data Security และ Logical Security ในรูปแบบ Online ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือแบบพบปะกันในห้องประชุมเมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติ เพื่อเกิดความเชื่อมั่นว่า พนักงานใหม่ทุก ๆ ท่านจะมีความเข้าใจในหลักการพื้นฐาน และได้รับการศึกษากรณีตัวอย่าง ให้สามารถนำไปปรับใช้จริงได้

• การสื่อสารความรู้ด้าน Cyber Security ทั่วทั้งองค์กร

พนักงานทุกท่านที่อยู่ในกลุ่มบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี ทั่วประเทศ ซึ่งครอบคลุมที่สังกัดสำนักงานใหญ่ สำนักงานในภูมิภาคต่าง ๆ และประจำสาขาต่าง ๆ ทั่วประเทศ จะได้รับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) สื่อสารการให้ความรู้ด้าน Cyber Security รวมทั้งกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และกรณีศึกษาใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ

กรณีการรั่วไหลของข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญ

จำนวนการจัดอบรมพนักงานเรื่องความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์



นวัตกรรมเพื่อธุรกิจและสังคม

พีทีจี จัดตั้งสายงาน Office of Transformation and Innovation เพื่อดําเนินงานในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านธุรกิจและบริการ รวมถึงสร้างการเปลี่ยนแปลงในด้านกระบวนการทำงานให้แก่องค์กร โดยโครงการนวัตกรรมทุกโครงการจะถูกพัฒนาขึ้นภายใต้เป้าประสงค์เดียวกัน คือ “การสร้างความอยู่ดีมีสุข” ให้กับลูกค้า คู่ค้า สังคม และพนักงาน ภายใต้แนวทางของกลยุทธ์ (Strategy Theme) โดยสิ่งเหล่านี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการตั้งแต่การคิดริ่เริ่ม การพิจารณาอนุมัติโครงการ จนถึงการสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับโครงการเหล่านั้นให้สามารถดำเนินไปได้

นอกจากนี้ บริษัทยังมีเป้าหมายที่จะขยายการทำกิจกรรมเพื่อที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนให้พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมไคเซ็น (KAIZEN) เพื่อส่งเสริมการคิดค้นนวัตกรรมกระบวนการเพื่อพัฒนาการทำงานภายในองค์กรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และยกระดับความพึงพอใจของลูกค้าทั้งภายในและภายนอก โดยบริษัทมุ่งหล่อหลอมให้พนักงานเป็น KAIZEN Leader คือการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้วยนโยบายกิจกรรม Think Big Do Best ซึ่งประกอบไปด้วย 5 เรื่องคือ

1. ส่งเสริม "PTG อยู่ดี มีสุข" โดยมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง อย่างยั่งยืน และพลิกสถานการณ์ COVID-19 ให้เป็นโอกาส

2. บรรลุเป้าหมายของฝ่ายงานและส่วนงาน ตามที่ได้รับมอบหมาย

3. ปรับปรุงกระบวนการ Supply Chain ภายในให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการให้หมดไป

4. สร้างวัฒนธรรม การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องในองค์กรตามแนวทาง Do Your BEST

5. สร้างทีมคณะกรรมการและคณะทำงาน เพื่อส่งเสริมการดำเนินการกิจกรรมไคเซ็นอย่างต่อเนื่องทุกปี สำหรับขั้นตอนการคิดค้นนวัตกรรมกระบวนการภายใต้กิจกรรม KAIZEN นี้ พนักงานจะต้องเสนอแนวคิดการปรับปรุงกระบวนการที่แปลกใหม่ และให้สอดคล้องกับเกณฑ์การดำเนินงานในโซ่อุปทาน SCOR Model 5 ด้าน คือ Safety, Quality, Productivity, Cost และ Service โดยพนักงานจะต้องมีการนำเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อทำการตัดสินและลงมือปฏิบัติต่อไป โดยบริษัทคาดหวังว่าจะมีการขยายผลการดำเนินงานของนวัตกรรมต่าง ๆ ครอบคลุมทุกพื้นที่การให้บริการของ พีทีจี เพื่อตอกย้ำความพยายามของบริษัทในการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม

การส่งเสริมความรู้ด้านนวัตกรรม

พีทีจี ได้ส่งเสริมความรู้ด้านนวัตกรรมของบุคลากรในองค์กร ทั้งในส่วนของผู้บริหารและพนักงาน แม้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยได้มีการพัฒนาความรู้ด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องให้กับพนักงานในฝ่ายงาน Transformation และพนักงานภายนอกฝ่ายงานในหลากหลายระดับ โดยออกเเบบเป็นโครงการพัฒนาบุคลากรทั้งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนในห้องเรียนและการลงมือปฏิบัติจริงผ่านโครงการนวัตกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญ และประสบการณ์จากองค์กร Start up และสถาบันต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงเป็นผู้คอยแนะนำให้ความรู้ นอกจากนี้ บริษัทยังจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ด้านนวัตกรรม โดยมีรายละเอียดดังนี้

ผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากการส่งเสริมความรู้ด้านนวัตกรรม

โครงการสำคัญ (Highlight Project)

วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดภายในองค์กรและลดค่าใช้จ่ายในการใช้น้ำที่สถานีบริการน้ำมัน จากการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ริเริ่มโดยพนักงานสถานีบริการ PT โดยยึดหลักการ 3R – Reduce, Reuse, Recycle

แนวทางการดำเนินงาน

เนื่องสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ ภายใต้การบริหารของพีทีจี มีปริมาณการใช้น้ำอยู่ในปริมาณมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำที่ใช้แล้วทิ้ง ไม่ได้นำกลับมาใช้ใหม่ จึงได้มีการคิดค้นเครื่องกรองน้ำที่มีกลไกลการขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และมีประสิทธิภาพในการกรองหรือ รีไซเคิลน้ำล้างมือให้กลับมาสะอาด และสามารถนำมาหมุนเวียนใช้ในการรดน้ำต้นไม้ และภายในห้องน้ำที่สถานีบริการอีกครั้ง ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายน้ำประปาจากปริมาณการใช้น้ำที่ลดลง

ผลการดำเนินงาน

สืบเนื่องจากปี 2563 พีทีจีได้ทำการทดลองใช้เครื่องกรองน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่สถานีบริการน้ำมัน สาขามโนรมย์ จังหวัดชัยนาท พบว่าก่อนการดำเนินการมีค่าใช้จ่ายน้ำประปาจำนวน 6,090.08 บาทต่อปี และหลังดำเนินการ สามารถลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาจำนวน 870 บาทต่อปี ดังนั้น ในปี 2564 พีทีจี จึงได้ขยายผลโครงการไปยังสถานีบริการวังน้อย 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งพบว่าสามารถนําน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้ประมาณ 3,564 ลูกบากศ์เมตรต่อปี หรือ 297 ลูกบากศ์เมตรต่อเดือน นอกจากนี้ ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของสถานีบริการได้ประมาณ 8,910 บาทต่อเดือน หรือ 106,920 บาทต่อปี

การกำกับดูแลกิจการ

การกำกับดูแลกิจการที่ดี


พีทีจี กำหนดนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการ การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น จริยธรรมและจรรยาบรรณทางธุรกิจ และแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการทำหน้าที่ในการกำกับดูแลให้การดำเนินงานของกลุ่มบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ รวมถึงทบทวนและปรับปรุงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการให้มีความเหมาะสมต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติระดับสากล


คณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยกรรมการจำนวน 10 คน เป็นกรรมการที่มิใช่ผู้บริหาร 8 คน กรรมการที่เป็นผู้บริหารจำนวน 2 คน ซึ่งมีกรรมการอิสระ จำนวน 4 คน พีทีจี ให้ความสำคัญกับความหลากหลากหลายของคณะกรรมบริษัท ไม่ปิดกั้นต่อเพศ ศาสนา เชื้อชาติ ทักษะ ประวัติการศึกษา และประสบการณ์ โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะทางธุรกิจของบริษัท บริษัทมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยที่มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ และอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ซึ่งประกอบไปด้วย
    


ดาวน์โหลดนิยามกรรมการอิสระ

ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการบริษัท (Board Industry Experience & Expertise)

พีทีจี ได้พิจารณาถึงองค์ประกอบในเรื่องความหลากหลายของคณะกรรมการ ได้แก่ สัดส่วนกรรมการอิสระและกรรมการที่เป็นเพศหญิง (ความหลากหลายทางเพศ) ความหลากหลายทางเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา อายุ รวมถึงทักษะ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอันสอดคล้องกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท (Materials Industry) ตาม Board Skills Matrix รวมทั้งได้พิจารณาจากบัญชีรายชื่อหรือฐานข้อมูลกรรมการ (Director’s Pool) และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) เพื่อส่งเสริมให้องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทมีความหลากหลายและเหมาะสมเพื่อให้คณะกรรมการบริษัทมีองค์ประกอบตามที่กำหนด

การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ

เพื่อให้การกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการบริษัทได้ทำแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อร่วมกันพิจารณาผลงานและปรับปรุงแก้ไขต่อไป โดยมีการประเมินรายบุคคลและรายคณะ 2 รูปแบบดังนี้ 1) การประเมินคณะกรรมการบริษัท และ 2) ประเมินคณะกรรมการชุดย่อย รายละเอียดปรากฏในแบบ 56-1 One Report หัวข้อ “รายงานผลการดำเนินสำคัญงานด้านการกำกับดูแลกิจการ”


การพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการ

ตามนโยบายของบริษัท พีทีจี ส่งเสริมให้กรรมการทุกท่านได้รับการพัฒนาและเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพเพิ่มเติม อาทิ การเข้าอบรมหลักสูตรจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Institute of Thai Directors: IOD) หรือหลักสูตรและการสัมนาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท โดยในปี 2564 กรรมการบริษัทได้เข้าอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ดังนี้


จรรยาบรรณธุรกิจและการต่อต้านการทุจริต

ในปี 2564 คณะกรรมการบริษัทได้มีการทบทวนปรับปรุงนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น นโยบายการให้ หรือรับของขวัญ หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด และคู่มือจริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct) เพื่อให้ครบถ้วน ครอบคลุมถึงการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นในทุก ๆ ด้าน รวมถึงเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ และการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ บริษัทได้ปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น ซึ่งได้รับการรับรองจากโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (Collective Action Coalition: CAC มาโดยตลอด โดยได้ร่วมลงนามในคำประกาศเจตนารมณ์ของแนวร่วมปฏิบัติ ของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2557 และได้รับการต่ออายุการรับรองเข้าเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2564 และสิ้นสุดการรับรองในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)


การสื่อสารและกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการต่อต้านการทุจริต

พีทีจี ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ภายใต้นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และคู่มือจริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจ โดยมีการสื่อสารนโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องให้ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทได้รับทราบ สำหรับผลการดำเนินงานของปี 2564 มีรายละเอียดดังนี้
- จัดหลักสูตรปฐมนิเทศให้กับพนักงานใหม่ในหัวข้อ การต่อต้านการทุจริต จริยธรรมและจรรยาบรรณของธุรกิจ และการบริหารความเสี่ยง โดยมีพนักงานใหม่เข้าร่วมทั้งสิ้น จำนวน 252 คน
- จัดให้มีการอบรมให้ความรู้ หลักสูตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น จริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจ ให้กับพนักงานและผู้บริหาร (On Boarding) ของกลุ่มบริษัท และจัดอบรมหลักสูตร ทำงานอย่างไรให้โปร่งใส ไร้ทุจริต แบบคน PT ให้แก่พนักงาน ปีละ 1 ครั้ง โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องการกำกับดูแลกิจการ การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ตลอดจนการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร
- กำหนดให้พนักงานร่วมจัดทำแบบประเมินความตระหนักรู้ในเรื่องการกำกับดูแลกิจการ จริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจ เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิผลความตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการของพนักงาน และส่งเสริมการปฏิบัติงานบนพื้นฐานของการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- สื่อสารแนวปฏิบัติในการบริจาคหรือสนับสนุนเงินหรือสิ่งของเพื่อการกุศลฉบับปรับปรุงให้กับบุคลากรได้รับทราบรวมถึงจัดอบรมให้หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานดังกล่าวได้นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน
- บริษัทได้มีการประกาศงดรับ หรือให้ของขวัญ หรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด (No Gift Policy) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ และในโอกาสอื่นใด ผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.ptgenergy.co.th และจดหมายจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ถึงคู่ค้า ของกลุ่มบริษัท ทั้งภายในและภายนอกบริษัท

  

โดยในปี 2564 มีข้อร้องเรียนที่ได้รับผ่านทางช่องทาง whistleblowing ที่ไม่สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการและจริยธรรมและจรรยาบรรรธุรกิจ จำนวน 28 กรณี ตัวย่างเช่น ข้อร้องเรียนที่พบว่าพนักงานมีการกระทำผิดเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินของผู้อื่น เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท โดยบริษัทได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวน เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่าย หากการกระทำนั้นก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทและผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท จะดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท


การสนับสนุนองค์กร และสมาคมภายนอก


รายชื่อองค์กร ประเภทองค์กร จำนวนเงินที่สนับสนุน (บาท)
2561 2562 2563 2564
สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย สมาคมการค้า
100,000

สมาคมอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน (IESG) 225,000 225,000 900,000 495,000
สมาคมคนพิการภาคตะวันออก 1,239,000 50,000

สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย 7,000 25,000 25,000 25,000
สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ 100,000 100,000

สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน 30,000 30,000 30,000 60,000
สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย 30,000


สมาคมกีฬารถจักรยานยนต์ 360 องศา

450,000

สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

75,000

สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย
3,000 1,250
สมาคมประสานงานรถรับจ้างสุวรรณภูมิ


98,400
สมาคมเยาวชนสตาร์ทอัพ


300,000
สภากาชาดไทย องค์กรการกุศล


50,000
รวม 1,631,000 1,058,000 956,250 1,028,400

การดำเนินการด้านภาษี

พีทีจี มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการด้านภาษี จึงได้กำหนดนโยบายภาษีขึ้นมาเพื่อเป็นกรอบในการทำงานของกลุ่มบริษัท และรักษาผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายควบคู่ไปกับการสร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุดตามหลักบรรษัทภิบาลที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอ โปร่งใสและมีจริยธรรม

   ดาวน์โหลดนโยบายภาษี

รายงานภาษี
ปี 2564 พีทีจี มีภาษีเงินได้ เท่ากับ 260 ล้านบาท โดยอัตราภาษีที่แท้จริง (effective tax rate) ที่บริษัทจ่าย เท่ากับ 20.40 % ซึ่งมากกว่า อัตราร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากรของกฏหมายสำหรับประเทศไทย เนื่องจาก บริษัทมีรายจ่ายของผลขาดทุนของสินค้าขาดหายจากรายงานสินค้าคงเหลือน้ำมัน

การรายงานทางการเงิน หน่วย 2563 2564
รายได้รวม ล้านบาท 104,666.06 133,758.82
กำไรจากการดำเนินธุรกิจก่อนจ่ายภาษี 2,331.08 1,277.44
ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย 236.18 96.14
ภาษีเงินได้นิติบุคคลจ่ายเสร็จสิ้น 369.83 515.75
ภาษีจ่าย 424.89 260.60
อัตราภาษีที่แท้จริง % 18.23 20.40%
ภาษีเงินสด ล้านบาท 369.83 515.75
อัตราภาษีเงินสด % 15.87 40.37%
จำนวนพนักงาน (FTE) คน 17,293 16,727


การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤติ

กลยุทธ์และระบบบริหารจัดการการจัดซื้อ

พีทีจี มีนโยบายในการจัดหาและคัดเลือกคู่ค้า ซึ่งรวมถึง ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้จำหน่าย ผู้แทนจำหน่าย ผู้ให้บริการ หรือผู้รับจ้าง อย่างมีระบบ เป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนคู่ค้าให้ดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม โดยได้กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ค้าหลังส่งมอบสินค้าและบริการ เพื่อให้มั่นใจว่าการซื้อสินค้า การว่าจ้างเหมาช่วง และการจ้างงานบริการ เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยบริษัทกำหนดให้ผู้ขายและผู้ให้บริการปัจจุบันที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของผู้ขายหรือผู้ให้บริการที่อนุมัติแล้ว (Approved Supplier List) ต้องได้รับการประเมินศักยภาพในการจัดซื้อจัดจ้างอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ บริษัทได้มีการพัฒนาระบบการขออนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างพิเศษ ในกรณีที่มีการจัดซื้อแบบเร่งด่วน และระบบบริหารจัดการการจัดซื้อ (Vendor Relationship Management: VRM) เพื่อสนับสนุนข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในทุก ๆ ด้าน โดยคู่ค้าสามารถตรวจสอบคำสั่งซื้อ รายงานการขาย ข้อมูลทางบัญชี สถานะการรับ-ส่งมอบสินค้า และสื่อสารข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ระหว่างคู่ค้ากับบริษัท

 ดาวน์โหลดกลยุทธ์การบริหารห่วงโซ่อุปทาน

 ดาวน์โหลดการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

แนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

พีทีจี กำหนดจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับบริษัทคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) เพื่อให้คู่ค้าใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ สอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมาย และจรรยาบรรณของบริษัท ตลอดจนแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งจะช่วยผลักดันให้คู่ค้าของบริษัทดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน มีความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน รวมถึงปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ บริษัทได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในระยะที่ 2 (VRM Phase II) เพื่อมาช่วยสนับสนุนในการดำเนินการด้านความยั่งยืนร่วมกับคู่ค้า โดยมีการปรับปรุงระบบให้มีความทันสมัยขึ้น มีการนำขั้นตอนใหม่ๆ มาทดแทนการทำงานแบบเดิม อาทิ การประเมินการให้บริการ online เมื่อมีการรับสินค้า การจัดทำ E-Catalog เพื่อสนับสนุนหน่วยงานผู้ขอซื้อ ในการเลือกซื้อสินค้าให้ถูกต้องตรงตามความต้องการ และสามารถเชื่อมต่อไปสร้างใบขออนุมัติซื้อ (PR) และใบสั่งซื้อ (PO) ได้ รวมทั้งกำหนดให้มีการนำจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับบริษัทคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) และแบบประเมินตนเองของคู่ค้าในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) เข้าระบบ เพื่อให้คู่ค้ารายใหม่ ได้ทำการประเมินก่อนมีการจัดซื้อจัดจ้างกับบริษัท รวมถึงคู่ค้ารายปัจจุบันได้มีการประเมินตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงอำนวยความสะดวกให้กับคู่ค้ามากขึ้นด้วย

 ดาวน์โหลดจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับบริษัทคู่ค้า

 ดาวน์โหลดนโยบายในการจัดหาและคัดเลือกคู่ค้า

การกำหนดกลุ่มและวิเคราะห์คู่ค้าสำคัญ (Critical Tier 1 Suppliers)

พีทีจี ได้พัฒนากระบวนการบริหารความเสี่ยงห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุมคู่ค้ากลุ่มธุรกิจน้ำมันและธุรกิจ Non-oil โดยมีการดำเนินการจำแนกกลุ่มคู่ค้าออกเป็นคู่ค้าที่ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง (Tier 1 Suppliers) คู่ค้าสำคัญของบริษัทโดยตรง (Critical Tier 1 Suppliers) และคู่ค้าสำคัญที่ไม่ได้ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง (Critical Non-oil 1 Suppliers) โดยเกณฑ์ในการวิเคราะห์กำหนดไว้ดังนี้

1. ปริมาณยอดการสั่งซื้อ

2. ความสำคัญของสินค้า/บริการต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท

3. ระดับของการพึ่งพาคู่ค้า หรือการทดแทนกันของสินค้า

การประเมินความเสี่ยงด้าน ESG และการตรวจประเมินคู่ค้า

พีทีจี มีการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของคู่ค้าที่ดำเนินธุรกิจกับบริษัท โดยจะมีการประเมินความเสี่ยงทุก 3 ปี ซึ่งครอบคลุมคู่ค้ากลุ่มธุรกิจน้ำมัน และธุรกิจ Non-oil ตามเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนทั้งในมิติโอกาสเกิดและผลกระทบจากความเสี่ยงด้าน ESG ครอบคลุมประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม อาทิ ความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจของคู่ค้าที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความเสี่ยงจากสถานที่ปฏิบัติงานหรือโรงงานสร้างผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ ความเสี่ยงจากการส่งมอบสินค้า/บริการไม่ทันตามกำหนด เป็นต้น เมื่อได้กลุ่มคู่ค้าที่มีระดับความเสี่ยงสูงและสูงมาก บริษัทจะดำเนินการเข้าตรวจประเมินคู่ค้าด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG Audit) เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าความเสี่ยงที่พบได้รับการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม

คำจำกัดความของคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนในระดับสูง

ผลการกำหนดกลุ่มและวิเคราะห์คู่ค้าสำคัญ ปี 2564

ผลการตรวจประเมินคู่ค้าด้าน ESG

บริษัทได้ดำเนินการตรวจประเมินคู่ค้าด้าน ESG แบบระยะไกล (ESG e-Audit หรือ Remote Audit) จำนวน 12 ราย จากเป้าหมายที่กำหนดไว้จำนวน 10 ราย จากการเข้าตรวจพื้นที่ปฏิบัติงานของคู่ค้าที่ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง (Critical Tier 1 Suppliers) และคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูงพบประเด็นความเสี่ยงด้านความยั่งยืน ได้แก่ เรื่องการดำเนินธุรกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน รวมถึงความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เป็นต้น ทั้งนี้ ในการตรวจประเมินคู่ค้าด้าน ESG บริษัทได้ร่วมให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในการพัฒนากระบวนการดำเนินงานด้าน ESG เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาความยั่งยืนให้แก่บริษัทคู่ค้า และนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านความยั่งยืน อีกทั้ง บริษัทคู่ค้ายังได้แบ่งปันและให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงาน ทำให้ทีมงานของบริษัทได้เรียนรู้ เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการของบริษัทได้อีกด้วย ซึ่งถือเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ทำงานและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจร่วมกันและเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนต่อไป

การบริหารห่วงโซ่อุปทาน

พีทีจี มุ่งที่จะเชื่อมต่อความต้องการระหว่าง Online และ Offline เข้าด้วยกัน (O2O solution) เพื่อให้การวางแผนการตลาดสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการเพิ่มเครือข่ายจำนวนสมาชิกของบัตร PT Max Card เพื่อพัฒนาสินค้าและการบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ บริษัทยั่งมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนด้วยการเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อสินค้าและบริการของชุมชนกับลูกค้า และสร้างงานในชุมชนจากการขยายเครือข่ายของสถานีบริการเพื่อก่อให้เกิดความ “อยู่ดี มีสุข" อย่างครบวงจร

มาตรฐานการบริการลูกค้าภายในสถานีบริการ

พีทีจี กำหนดให้พนักงานปฏิบัติตามมาตรฐานการบริการ 5 ขั้นตอน และมีการควบคุมมาตรฐานการบริการ ได้แก่ การควบคุมมาตรฐานภายใน จากผู้จัดการสถานีเขต และผู้จัดการภาค : Walk the store / Shift Changes Book การควบคุมมาตรฐานภายนอก จาก Mystery shopper หรือ Call center 1614 และการประกวดให้รางวัล พนักงานที่ทำดีและได้รับคำชมจากลูกค้า เช่น กิจกรรม Best of customer voices


นโยบายการสื่อสารข้อมูลผลกระทบจากสินค้าหรือบริการ

พีทีจี มุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า โดยการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามความต้องการของลูกค้า และเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า และบริการอย่างครบถ้วน โดยทำการตลาดอย่างมีความรับผิดชอบและไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงต่อลูกค้า และมุ่งมั่นที่จะให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการนั้นๆ ที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับการตัดสินใจของผู้บริโภคผ่านการตลาดและการสื่อสารต่างๆ จึงได้มีการจัดทำนโยบายการสื่อสารข้อมูลผลกระทบจากสินค้าหรือบริการ โดยหากลูกค้าได้รับผลกระทบจากสินค้าและบริการของบริษัท สามารถร้องเรียนผ่านทางช่องการการติดต่อได้ทาง PT Call Center โทร 1614 หรือโทร 02-030-1446 หรือผ่านทาง Facebook : PT Station และผ่านทางเว็บไซต์ของกลุ่มบริษัท เว็บไซต์ https://www.ptgenergy.co.th/ ในหัวข้อแนวทางการแจ้งเบาะแส / ข้อร้องเรียนการคอร์รัปชั่น ในช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียนด้านบริการ

 ดาวน์โหลดนโยบายการสื่อสารข้อมูลผลกระทบจากสินค้าหรือบริการ


นโยบายและมาตรการการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของลูกค้า

พีทีจี ให้ความสำคัญ และเคารพความเป็นส่วนตัวและตระหนักถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคล ให้เป็นไปตามกฎหมาย และตามมาตรฐานสากล จึงได้กำหนดนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า คู่ค้า คู่สัญญา พนักงาน และบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัทเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทได้เก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย หรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังบุคคลภายนอก และ/หรือต่างประเทศนั้น ได้รับความคุ้มครอง และเป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ ข้อมูลทางด้านการตลาด การสั่งซื้อและการให้บริการลูกค้าจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ และการเข้าถึงข้อมูลสามารถเข้าถึงโดยบุคคลที่ได้รับสิทธิเท่านั้น ทั้งนี้ หากจะใช้เปิดเผย หรือถ่ายโอนข้อมูลดังกล่าวไปยังบุคคลอื่น จะต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิตามกฎหมาย และจะต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลผู้เป็นเจ้าของข้อมูลล่วงหน้า

 ดาวน์โหลดนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

การพัฒนาระบบและเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนความสัมพันธ์กับลูกค้า

• การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มช่องทางบริการ ผ่านให้บริการลักษณะออนไลน์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าที่เดินทางไปยังจุดให้บริการไม่ได้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และพัฒนาปรับปรุงการให้บริการให้ตรงความต้องการผ่านการใช้ข้อมูลในอดีต (Data Driven) เช่น บริการทักสั่งได้ การจัดทำโปรโมชันส่งเสริมการขายด้วยการวิเคราะห์พฤติกรรมเฉพาะกลุ่มสมาชิก รวมทั้ง การพัฒนาเครื่องมือในการเพิ่มจุดให้บริการสำหรับสมาชิก MAX Card ขยายไปยังธุรกิจอื่น ๆ และพันธมิตรด้วยแนวคิด Co-creation
• การใช้ QR payment ชำระค่าบริการแบบไร้สัมผัส โดยที่ผ่านมาได้มีการทดสอบความปลอดภัยของการชำระเงินแบบ QR Payment กับสถาบันการเงินต่าง ๆ ในทุกกลุ่มธุรกิจ และในสาขาต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยนำร่องใช้ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดหัวเมืองใหญ่เป็นลำดับแรก เพื่อลดการสัมผัสเงินสด หรือ บัตรเครดิตที่จะเกิดขึ้นจากการชำระค่าสินค้าและบริการในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และเพื่อสวัสดิภาพด้านสาธารณสุขของพนักงานและลูกค้าเป็นสำคัญ
• การพัฒนาระบบ Customer Relationship Management (CRM) เพื่อจัดเก็บข้อมูลแคมเปญ กิจกรรม ขั้นตอนการทำงานปัจจุบัน และผลสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า พร้อมทั้งข้อเสนอแนะ ไว้ในแหล่งข้อมูลกลางเดียวกัน โดยสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงคิดค้นธุรกิจใหม่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ามากขึ้นในอนาคต

พีทีจี มีการประเมินความพึงพอใจของลูกค้าโดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1. การประเมินกลุ่มลูกค้าผู้บริโภค (End user) ณ จุดให้บริการโดยใช้เทคนิคการประเมินแบบ Net Promoter Score (NPS) กล่าวคือ เมื่อลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ ณ จุดให้บริการ และมีการสะสมแต้มแล้วเสร็จ จะมีการส่งแบบสอบถามไปยังลูกค้าในกลุ่มที่เข้ามาใช้บริการที่สถานีบริการ

2. การประเมินกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการสถานีบริการ (Dealer Owned Dealer Operate: DODO) การประเมินวิธีนี้จะประเมินความพึงพอใจลูกค้ากลุ่มผู้ประกอบการสถานีบริการโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นการประเมินการให้บริการจากฝ่ายงานต่าง ๆ ที่ให้บริการกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการสถานีบริการ ครอบคลุม การขนส่งน้ำมัน การให้บริการในคลังน้ำมัน การให้บริการทางบัญชี เป็นต้น

หมายเหตุ* : ผู้บริโภค (End User) หมายถึง ผู้บริโภคที่มาซื้อหรือใช้สินค้าและบริการภายใต้แบรนด์ PT เช่น สถานีบริการ PT สถานี LPG ร้าน กาแฟพันธุ์ไทย และร้านแก๊ส PT และลูกค้าผู้ประกอบการสถานีบริการ หมายถึง ลูกค้าแฟรนไชส์ Dealer Owned Dealer Operated (DODO) ซึ่ง บริษัทมีหน้าที่ช่วยให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการ และจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับลูกค้าแฟรนไชส์


การปรับปรุงผลการดำเนินงานเพื่อยกระดับความพึงพอใจลูกค้า

เมื่อได้ผลการประเมินความพึงพอใจของลูกค้าแล้วจะนำมาเข้าสู่การประมวลผล และส่งผลการประเมินไปยังผู้เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงการให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าต่อไป โดยมีการนำผลการประเมินความพึงพอใจมาพัฒนารูปแบบแคมเปญ และการบริการให้สอดคล้องกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เช่น การพัฒนารูปแบบการให้บริการภายในสถานีบริการ รวมถึงการออกแบบกิจกรรมแคมเปญต่าง ๆ เช่น แคมเปญที่เกี่ยวกับการใช้แต้มเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษ หรือ การใช้ E-Stamp ในการแลกสินค้ากลุ่มที่ระลึก เป็นต้น


สถิติการร้องเรียนเกี่ยวกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของลูกค้า

พีทีจี มีช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนผ่านช่องทางต่างๆ เช่น Call Center 1614 หรืออีเมล customer_service@pt.co.th Facebook Fan page และ Mobile application PT Max reward โดยในปี 2564 สามารถสรุปข้อร้องเรียนจากลูกค้าได้ดังนี้

ประเด็น ผู้ร้องเรียน 2563 (กรณี) 2564 (กรณี)
จำนวนการร้องเรียนที่สำคัญด้านการละเมิดความเป็นส่วนตัวของลูกค้าและการสูญเสียข้อมูลลูกค้า บุคคลภายนอกและได้รับการยืนยันจากองค์กร 0 0
หน่วยงานกำกับดูแล* 0 0
จำนวนเหตุการณ์ที่มีการรั่วไหล ถูกขโมย และการสูญเสียข้อมูลลูกค้า 0 0

* หน่วยงานกำกับดูแล ที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ หรือเป็นหน่วยงานอิสระที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย


การบริหารความสัมพันธ์และความรับผิดชอบต่อลูกค้า

แผนการพัฒนาศักยภาพและความสามารถด้าน Cyber Security ทั้งในเชิงเป้าหมาย กลยุทธ์การดำเนินการ โครงการที่เกี่ยวข้อง และรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน ได้ถูกพิจารณาและอนุมัติโดยคณะผู้บริหารระดับสูง และคณะกรรมการบริษัท เช่น โครงการ Uplift Cyber Security โครงการ Security Operations Center (SOC) และ โครงการทดสอบ Email Phishing สำหรับพนักงาน เป็นต้น โดยจะมีการสื่อสาร และเผยแพร่ต่อสาธารณะชนผ่านช่องทางที่เหมาะสมในอนาคต เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายเกิดความเชื่อมั่น เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะดูแลรักษาและป้องกันภัยทางด้าน Cyber Security อย่างเป็นรูปธรรมของบริษัท รวมทั้งแสดงถึงการได้รับการสนับสนุนทั้งทางด้านงบประมาณ และนโยบายจากฝ่ายบริหาร รวมถึงคณะกรรมการบริษัทอย่างเป็นสาระสำคัญ

โครงสร้างการกำกับดูแลความปลอดภัยสารสนเทศ และความปลอดภัยทางไซเบอร์

พีทีจี มีการกำกับดูแลความปลอดภัยสารสนเทศ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับการกำกับดูแล ระดับบริหาร และระดับปฏิบัติการ

ดาวน์โหลดข้อมูลผู้รับผิดชอบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความปลอดภัยทางไซเบอร์

กระบวนการและโครงสร้างพื้นฐานของสารสนเทศและไซเบอร์

ปัจจุบันนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของพีทีจีที่สอดคล้องตามระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการ กฎหมายไทย และมาตรฐานสากล คือ ISO27001:2013 ซึ่งได้รับการตรวจสอบและให้ความเชื่อมั่นอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานตรวจสอบภายใน และบริษัทผู้ตรวจสอบภายนอก ตามมาตรฐานในระดับสากล ซึ่งเนื้อหาของนโยบายดังกล่าวจะจัดให้มีการทบทวน และสอบทานให้ทันสมัยเป็นประจำทุกปีโดยฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนงานกลยุทธ์และกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

อีกทั้งมีการดำเนินงาน การติดตาม การควบคุม และการดูแลความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในทางปฏิบัติตามนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลบังคับใช้บนระบบการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนงานโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทดสอบการบุกรุกระบบ (Penetration Test) และการตรวจหาช่องโหว่ของระบบสารสนเทศ (Vulnerability Assessment) เป็นต้น นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเตรียมแผนการรับมือและแก้ไขภัยคุกคามด้าน Cyber Attacks ที่อาจจะเกิดขึ้น จึงมีการกำหนดและแบ่งระดับความเสียหายจากช่องโหว่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Vulnerability Severity Levels) ออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับวิกฤต (Critical) ระดับสูง (High) ระดับกลาง (Medium) และระดับต่ำ (Low) โดยมีการกำหนดแผนงาน ขั้นตอนการปฏิบัติ ผู้ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมทั้งวิธีการสื่อสารและรายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ สอดคล้องกับระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น หากเกิดเหตุการณ์จริง

 ดาวน์โหลดนโยบายด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

มาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ การตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ การซ้อมแผนฉุกเฉิน และการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

นอกจากมาตรการต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น พนักงานของบริษัทสามารถสอบถามรายงานความผิดปกติ และแจ้งความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการโจมตีใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Cyber Security ผ่านระบบการให้บริการ “IT Service center” ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ในการปฏิบัติงาน โดยจะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศรับเรื่องไปดำเนินการตามกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงานที่ออกแบบไว้โดยเร็วที่สุด (Incident report and escalation process) ทั้งนี้ การสื่อสารและรายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ ตั้งแต่ระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ ถึง ผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการติดตามผลจนกว่าจะแก้ไขประเด็นปัญหาจบสิ้น

สำหรับการทดสอบแผนงานการรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (BCP) ประจำปี 2564 ได้กำหนดแผนการทดสอบเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินอันเนื่องมาจากการถูกโจมตีระบบงานสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท บนสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจริง ซึ่งถือเป็นการเตรียมความพร้อม และสร้างความพร้อมในการปฏิบัติงานหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริงให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานสนับสนุนต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมด รวมทั้งเพื่อทดสอบความสามารถของเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ที่ใช้บนสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจริงของบริษัทในการกู้ระบบงานและข้อมูลกลับคืนมา

โครงการพัฒนาความรู้เรื่องความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

พีทีจี ให้ความสำคัญในการสื่อสารนโยบาย รวมทั้งบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงพนักงาน ทั้งที่พึ่งเริ่มงานใหม่ และที่ทำงานในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจัดทำโดยฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และได้รับความอนุเคราะห์ด้านการสื่อสารโดยฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อให้ทุกท่านเกิดความตระหนักรู้ ร่วมกันเฝ้าระวัง และทราบถึงแนวทางปฏิบัติเมื่อพบเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยง หรือเกิดความเสียหายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิเช่น

• การอบรมความรู้ด้าน Cyber security ให้กับพนักงานใหม่

วันแรกของการเริ่มงาน พนักงานใหม่ทุกตำแหน่งจะได้รับการอบรมหลักสูตรการปรับพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบริษัท ตลอดจนกฏระเบียบบริษัทต่าง ๆ รวมทั้งการให้ความรู้และการทำแบบทดสอบที่เกี่ยวข้องกับ Cyber Security ได้แก่ Physical Access Control, Information and Data Security และ Logical Security ในรูปแบบ Online ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือแบบพบปะกันในห้องประชุมเมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติ เพื่อเกิดความเชื่อมั่นว่า พนักงานใหม่ทุก ๆ ท่านจะมีความเข้าใจในหลักการพื้นฐาน และได้รับการศึกษากรณีตัวอย่าง ให้สามารถนำไปปรับใช้จริงได้

• การสื่อสารความรู้ด้าน Cyber Security ทั่วทั้งองค์กร

พนักงานทุกท่านที่อยู่ในกลุ่มบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี ทั่วประเทศ ซึ่งครอบคลุมที่สังกัดสำนักงานใหญ่ สำนักงานในภูมิภาคต่าง ๆ และประจำสาขาต่าง ๆ ทั่วประเทศ จะได้รับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) สื่อสารการให้ความรู้ด้าน Cyber Security รวมทั้งกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และกรณีศึกษาใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ

กรณีการรั่วไหลของข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญ

จำนวนการจัดอบรมพนักงานเรื่องความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์



นวัตกรรมเพื่อธุรกิจและสังคม

พีทีจี จัดตั้งสายงาน Office of Transformation and Innovation เพื่อดําเนินงานในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านธุรกิจและบริการ รวมถึงสร้างการเปลี่ยนแปลงในด้านกระบวนการทำงานให้แก่องค์กร โดยโครงการนวัตกรรมทุกโครงการจะถูกพัฒนาขึ้นภายใต้เป้าประสงค์เดียวกัน คือ “การสร้างความอยู่ดีมีสุข” ให้กับลูกค้า คู่ค้า สังคม และพนักงาน ภายใต้แนวทางของกลยุทธ์ (Strategy Theme) โดยสิ่งเหล่านี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการตั้งแต่การคิดริ่เริ่ม การพิจารณาอนุมัติโครงการ จนถึงการสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ ให้กับโครงการเหล่านั้นให้สามารถดำเนินไปได้

นอกจากนี้ บริษัทยังมีเป้าหมายที่จะขยายการทำกิจกรรมเพื่อที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนให้พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมไคเซ็น (KAIZEN) เพื่อส่งเสริมการคิดค้นนวัตกรรมกระบวนการเพื่อพัฒนาการทำงานภายในองค์กรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และยกระดับความพึงพอใจของลูกค้าทั้งภายในและภายนอก โดยบริษัทมุ่งหล่อหลอมให้พนักงานเป็น KAIZEN Leader คือการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้วยนโยบายกิจกรรม Think Big Do Best ซึ่งประกอบไปด้วย 5 เรื่องคือ

1. ส่งเสริม "PTG อยู่ดี มีสุข" โดยมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง อย่างยั่งยืน และพลิกสถานการณ์ COVID-19 ให้เป็นโอกาส

2. บรรลุเป้าหมายของฝ่ายงานและส่วนงาน ตามที่ได้รับมอบหมาย

3. ปรับปรุงกระบวนการ Supply Chain ภายในให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการให้หมดไป

4. สร้างวัฒนธรรม การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องในองค์กรตามแนวทาง Do Your BEST

5. สร้างทีมคณะกรรมการและคณะทำงาน เพื่อส่งเสริมการดำเนินการกิจกรรมไคเซ็นอย่างต่อเนื่องทุกปี สำหรับขั้นตอนการคิดค้นนวัตกรรมกระบวนการภายใต้กิจกรรม KAIZEN นี้ พนักงานจะต้องเสนอแนวคิดการปรับปรุงกระบวนการที่แปลกใหม่ และให้สอดคล้องกับเกณฑ์การดำเนินงานในโซ่อุปทาน SCOR Model 5 ด้าน คือ Safety, Quality, Productivity, Cost และ Service โดยพนักงานจะต้องมีการนำเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อทำการตัดสินและลงมือปฏิบัติต่อไป โดยบริษัทคาดหวังว่าจะมีการขยายผลการดำเนินงานของนวัตกรรมต่าง ๆ ครอบคลุมทุกพื้นที่การให้บริการของ พีทีจี เพื่อตอกย้ำความพยายามของบริษัทในการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม

การส่งเสริมความรู้ด้านนวัตกรรม

พีทีจี ได้ส่งเสริมความรู้ด้านนวัตกรรมของบุคลากรในองค์กร ทั้งในส่วนของผู้บริหารและพนักงาน แม้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยได้มีการพัฒนาความรู้ด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องให้กับพนักงานในฝ่ายงาน Transformation และพนักงานภายนอกฝ่ายงานในหลากหลายระดับ โดยออกเเบบเป็นโครงการพัฒนาบุคลากรทั้งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนในห้องเรียนและการลงมือปฏิบัติจริงผ่านโครงการนวัตกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญ และประสบการณ์จากองค์กร Start up และสถาบันต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงเป็นผู้คอยแนะนำให้ความรู้ นอกจากนี้ บริษัทยังจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ด้านนวัตกรรม โดยมีรายละเอียดดังนี้

ผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากการส่งเสริมความรู้ด้านนวัตกรรม

โครงการสำคัญ (Highlight Project)

วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดภายในองค์กรและลดค่าใช้จ่ายในการใช้น้ำที่สถานีบริการน้ำมัน จากการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ริเริ่มโดยพนักงานสถานีบริการ PT โดยยึดหลักการ 3R – Reduce, Reuse, Recycle

แนวทางการดำเนินงาน

เนื่องสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ ภายใต้การบริหารของพีทีจี มีปริมาณการใช้น้ำอยู่ในปริมาณมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำที่ใช้แล้วทิ้ง ไม่ได้นำกลับมาใช้ใหม่ จึงได้มีการคิดค้นเครื่องกรองน้ำที่มีกลไกลการขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และมีประสิทธิภาพในการกรองหรือ รีไซเคิลน้ำล้างมือให้กลับมาสะอาด และสามารถนำมาหมุนเวียนใช้ในการรดน้ำต้นไม้ และภายในห้องน้ำที่สถานีบริการอีกครั้ง ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายน้ำประปาจากปริมาณการใช้น้ำที่ลดลง

ผลการดำเนินงาน

สืบเนื่องจากปี 2563 พีทีจีได้ทำการทดลองใช้เครื่องกรองน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่สถานีบริการน้ำมัน สาขามโนรมย์ จังหวัดชัยนาท พบว่าก่อนการดำเนินการมีค่าใช้จ่ายน้ำประปาจำนวน 6,090.08 บาทต่อปี และหลังดำเนินการ สามารถลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาจำนวน 870 บาทต่อปี ดังนั้น ในปี 2564 พีทีจี จึงได้ขยายผลโครงการไปยังสถานีบริการวังน้อย 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งพบว่าสามารถนําน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้ประมาณ 3,564 ลูกบากศ์เมตรต่อปี หรือ 297 ลูกบากศ์เมตรต่อเดือน นอกจากนี้ ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของสถานีบริการได้ประมาณ 8,910 บาทต่อเดือน หรือ 106,920 บาทต่อปี

Loading...