กลยุทธ์และระบบบริหารจัดการการจัดซื้อ
ในปี 2566 พีทีจีได้กำหนดกลยุทธ์การบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน โดยมุ่งในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ครอบคลุม ตั้งแต่การคัดเลือกคู่ธุรกิจที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม พร้อมปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อความยั่งยืนภายใต้แผนบริหารจัดการความเสี่ยง ตลอดจนพัฒนาคู่ค้าให้สามารถดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและเติบโตร่วมกันในระยะยาวโดยกำหนดให้มีการดำเนินตามกลยุทธ์ 5 ประการดังต่อไปนี้ั
โดยกำหนดให้มีการดำเนินตามกลยุทธ์ 5 ประการดังต่อไปนี้
1. สร้างมาตรฐานในการบริหารจัดการคู่ค้า สร้างมาตรฐานในกระบวนการบริหารจัดการคู่ค้า ตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกคู่ค่า การประเมินศักยภาพของผู้ขาย การรักษาคู่ค้า และการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้สามารถดำเนินการจัดซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งตอบสนองความต้องการสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนเพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าและบริการที่ส่งมอบนั้นได้คุณภาพเป็นไปตามนโยบาย ข้อกำหนด มาตรฐานการดำเนินงานและสอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กร
2. สรรหา คัดเลือก และประเมินคู่ค้าอย่างมีความรับผิดชอบ สรรหาและคัดเลือกคู่ค้าที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี รวมถึงมีหลักเกณ์ในการประเมินคู่ค้าที่อยู่ในทะเบียนคู่ค้า (Approved Vendor List) โดยนอกเหนือจากการคำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า ราคา และประสิทธิภาพในการส่งมอบ บริษัทให้ความสำคัญต่อศักยภาพด้านการบริหารจัดการประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลของคู่ค้า ครอบคลุมการจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติที่ดีต่อแรงงาน เช่น แรงงานเด็ก (Child Labor) ค่าจ้างและสวัสดิการ (Wages and Benefits) ชั่วโมงทำงาน (Working Hours) แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ (Forced Labor and Human Trafficking) เสรีภาพในการสมาคมและการเจรจาต่อรองร่วมกัน (Freedom of Association and Collective Bargaining) และการล่วงละเมิดและการไม่เลือกปฏิบัติ (Harassment and Non-Discrimination) เป็นต้น รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎหมายและกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจร่วมกันอย่างยั่งยืน
3. บริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของคู่ค้า กำหนดการประเมินความเสี่ยงคู่ค้าด้านความยั่งยืน (ESG Risk Assessment) ตามลักษณะของการประกอบธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรมสำหรับคู่ค้าทุกราย พร้อมทั้งมีการตรวจประเมินคู่ค้า ไปจนถึงการติดตามผลการดำเนินงานของคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง
4. เพิ่มประสิทธิภาพเชิงต้นทุน มุ่งมั่นสร้างกระบวนการทำงานอันเป็นเลิศ โดยการบริหารจัดการข้อมูลแบบรวมศูนย์ (Consolidation) เพื่อจัดกลุ่มสินค้าและคู่ค้าได้อย่างเป็นระบบ ผ่านการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละขั้นตอน อีกทั้งเป็นการสนับสนุนให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ตลอดจนสามารถลดต้นทุน และลดความผิดพลาดในการทำงาน
5. สร้างความสัมพันธ์กับคู่ค้า สร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันร่วมกับคู่ค้า พร้อมทั้งสร้างการเติบโตและโอกาสในการขยายธุรกิจ ทั้งในด้านการสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาศักยภาพด้านความยั่งยืนผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างองค์กร
ดาวน์โหลดจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับบริษัทคู่ค้า
ดาวน์โหลดนโยบายในการจัดหาและคัดเลือกคู่ค้า
การกำหนดกลุ่มและวิเคราะห์คู่ค้าสำคัญ (Critical Tier 1 Suppliers)
พีทีจี ได้พัฒนากระบวนการบริหารความเสี่ยงห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุมคู่ค้ากลุ่มธุรกิจน้ำมันและธุรกิจ Non-oil โดยมีการดำเนินการจำแนกกลุ่มคู่ค้าออกเป็นคู่ค้าที่ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง (Tier 1 Suppliers) คู่ค้าสำคัญของบริษัทโดยตรง (Critical Tier 1 Suppliers) และคู่ค้าสำคัญที่ไม่ได้ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง (Critical Non-oil 1 Suppliers) โดยเกณฑ์ในการวิเคราะห์กำหนดไว้ดังนี้
1. ปริมาณยอดการสั่งซื้อ
2. ความสำคัญของสินค้า/บริการต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท
3. ระดับของการพึ่งพาคู่ค้า หรือการทดแทนกันของสินค้า
การประเมินความเสี่ยงด้าน ESG และการตรวจประเมินคู่ค้า
พีทีจี มีการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของคู่ค้าที่ดำเนินธุรกิจกับบริษัท ซึ่งครอบคลุมคู่ค้ากลุ่มธุรกิจน้ำมัน และธุรกิจ Non-oil ตามเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนทั้งในมิติโอกาสเกิดและผลกระทบจากความเสี่ยงด้าน ESG ครอบคลุมประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม อาทิ ความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจของคู่ค้าที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความเสี่ยงจากสถานที่ปฏิบัติงานหรือโรงงานสร้างผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ ความเสี่ยงจากการส่งมอบสินค้า/บริการไม่ทันตามกำหนด เป็นต้น เมื่อได้กลุ่มคู่ค้าที่มีระดับความเสี่ยงสูงและสูงมาก บริษัทจะดำเนินการเข้าตรวจประเมินคู่ค้าด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG Audit) เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าความเสี่ยงที่พบได้รับการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม
คำจำกัดความของคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนในระดับสูง
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
ผลการกำหนดกลุ่มและวิเคราะห์คู่ค้าสำคัญ
ประเภทคู่ค้า | จำนวนคู่ค้า (ราย) | สัดส่วนยอดซื้อ (ร้อยละ) |
คู่ค้าที่ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง | 966 | 100 |
คู่ค้าสำคัญของบริษัทโดยตรง | 65 | 6.73 |
คู่ค้าสำคัญที่ไม่ได้ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง | 6 | - |
ผลการดำเนินการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย
ปีงบประมาณ | ค่าใช้จ่ายการจัดซื้อ | หน่วย |
2563 | 11.91 | พันล้านบาท |
2564 | 22.68 | พันล้านบาท |
2565 | 35.15 | พันล้านบาท |
2566 | 35.14 | พันล้านบาท |
ค่าใช้จ่ายจำแนกตามประเภทธุรกิจ
ปีงบประมาณ | ธุรกิจ Oil | ธุรกิจ Non-oil | หน่วย |
2565 | 29.71 | 5.44 | พันล้านบาท |
2566 | 29.70 | 5.42 | พันล้านบาท |
ผลการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของคู่ค้า ประจำปี 2566
ประเภท | ผลการดำเนินงาน |
คู่ค้าที่ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรงได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืน | 14 ราย |
คู่ค้าที่มีความเสี่ยงในระดับสูง | ร้อยละ 31.81 |
ผลการตรวจประเมินคู่ค้าด้าน ESG
แผนดำเนินการแก้ไขร่วมกับคู่ค้า
ภายหลังจากการตรวจประเมินคู่ค้าด้าน ESG แล้วเสร็จ พีทีจี ได้จัดทำแผนการดำเนินการแก้ไขร่วมกันกับคู่ค้าที่การดำเนินงานด้าน ESG ยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินของพีทีจี นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งปันและสนับสนุนแนวปฏิบัติที่สำคัญให้แก่คู่ค้าผ่านกิจกรรม PTG Knowledge Sharing : ESG for Sustainability through the Supply Chain ซึ่งจัดขึ้นผ่านช่องทาง Online โดยใช้ Video Conference เพื่อให้คู่ค้าทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงกิจกรรมได้อย่างสะดวก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการผลักดันให้คู่ค้าสามารถดำเนินงานโดยเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านความยั่งยืนต่าง ๆ ที่สามารถเทียบเคียงกับคู่แข่งในตลาดได้ นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนการดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุงข้อกำหนด กระบวนการ แนวปฏิบัติทั้งด้านสังคม บรรษรรภิบาล และสิ่งแวดล้อมให้แก่คู่ค้าผ่านกระบวนการออนไลน์และ ณ สถานที่ปฏิบัติงานจริง เช่น ในการตรวจประเมินคู่ค้าด้าน ESG พีทีจี ได้ร่วมให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในการพัฒนากระบวนการดำเนินงานด้าน ESG ให้แก่คู่ค้าในระหว่างการตรวจประเมิน และได้มีการการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานให้แก้ผู้รับเหมาและบริษัทคู่ค้า ซึ่งรวมถึงโปรแกรมการสนับสนุนทางเทคนิคเชิงลึกเพื่อเสริมสร้างความสามารถและประสิทธิภาพด้าน ESG ให้กับคู่ค้าซึ่งมีทั้งรูปแบบ Online และ On-site
นโยบายและระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า
บริษัทมีนโยบายการบริหารสินเชื่อ ซึ่งมีการกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการให้สินเชื่อของแต่ละหน่วยงานธุรกิจที่สามารถแข่งขันและเทียบเคียงคู่แข่งได้ โดยพิจารณาให้ระยะเวลารับเงินและจ่ายเงินในภาพรวมมีความสอดคล้องกัน และไม่มีผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงิน โดยบริษัทได้คำนึงถึงต้นทุนและความเสี่ยงทางการเงินอันอาจเกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคตอีกด้วย
อัตราส่วนทางการเงิน (วัน) | 2566 | 2565 | 2564 | 2563 | เฉลี่ย 3 ปี |
---|---|---|---|---|---|
การเก็บหนี้เฉลี่ย | 1.21 | 1.07 | 1.08 | 1.06 | 1.01 |
การชำระหนี้เฉลี่ย | 13.30 | 11.12 | 11.45 | 14.89 | 14.32 |
บริษัทกำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้ให้แก่คู่ค้าภายใน 30 วัน โดยในปี 2565 บริษัทมีระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย 1.07 วันและมีระยะเวลาชำระหนี้เฉลี่ย 11.12 วัน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่นโยบายกำหนด