การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤติ

โครงสร้างและนโยบายการบริหารความเสี่ยงองค์กร

พีทีจี ได้กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงองค์กรขึ้น เพื่อเป็นแนวทางให้กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับถือปฏิบัติ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เป็นมาตรฐาน ควบคู่ไปกับกระบวนการกำหนดกลยุทธ์องค์กร โดยกำหนดให้การบริหารความเสี่ยงเป็นหน้าที่ของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับที่ต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่มีในการปฏิบัติงาน โดยให้นำหลักการและกระบวนการบริหารความเสี่ยงไปใช้ปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน เพื่อเพิ่มโอกาสและลดความไม่แน่นอนในผลการดำเนินงานโดยรวมขององค์กร

ดาวน์โหลดนโยบายการบริหารความเสี่ยงองค์กร

โครงสร้างบริหารการจัดการความเสี่ยง


กระบวนการบริหารความเสี่ยงองค์กร

พีทีจี กำหนดให้มีการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Risk Management) ตามกรอบการบริหารความเสี่ยง COSO-ERM 2017 โดยได้ทบทวน พัฒนา และปรับปรุงกระบวนการบริหารความเสี่ยงองค์กรเป็นประจำทุกปี เพื่อให้สามารถตอบรับกับสภาพแวดล้อมของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยได้ดำเนินการระบุความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยงจากบริบทองค์กร และปัจจัย ต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) และกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยง จัดทำตัวชี้วัดความเสี่ยง (Key Risk Indicators : KRIs) รวมถึงติดตามและรายงานผลการบริหารความเสี่ยงรายงานต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด และทำให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น โดยบริษัทมีการระบุความเสี่ยงองค์กรแยกตามมิติด้านความยั่งยืน ดังนี้

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk)

พีทีจี ตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต บริษัทจึงให้ความสำคัญกับการพิจารณาประเด็นความเสี่ยงที่เกิดใหม่ (Emerging Risk) เพิ่มขึ้น เพื่อให้ทันต่อความท้าทายทางธุรกิจที่เกิดขึ้นได้อยู่ตลอดมากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน รวมถึงความเชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือ และชื่อเสียงของบริษัทได้ เพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ บริษัทได้ติดตามข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กฎหมาย เทคโนโลยี และอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำมาวิเคราะห์ และระบุความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk) เพื่อแสวงหาโอกาสและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยมีรายละเอียดดังนี้ของบริษัท

ดาวน์โหลดข้อมูลการประเมินความความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ 2565

การสร้างวัฒนธรรมด้านการบริหารความเสี่ยงในองค์กร

พีทีจี มุ่งมั่น สนับสนุน และส่งเสริมวัฒนธรรมด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยบริษัทได้ให้ความรู้ความเข้าใจในกระบวนการและแนวทางการบริหารความเสี่ยงแก่กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เผยแพร่ให้พนักงานทุกระดับได้เรียนรู้ มีการจัดทำข่าวสารส่งให้ผู้บริหารได้รับทราบสถานการณ์ความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ จัดอบรมให้ความรู้ด้านการบริหารความเสี่ยงแก่กรรมการบริษัท ผู้บริหาร คณะทำงานบริหารความเสี่ยงองค์กร และพนักงาน เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงให้ทุกคนในองค์กร

นอกจากนี้ในส่วนของคณะทำงานจัดการด้านบริหารความเสี่ยงที่ประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ จะทำหน้าที่ในการประสานงานกับส่วนบริหารความเสี่ยง ในการนำนโยบายและกระบวนการบริหารความเสี่ยงเผยแพร่ในหน่วยงานเพื่อไปสู่การปฏิบัติในระดับกระบวนการของหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กร และติดตามให้หน่วยงานดำเนินการตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงโดยมีการระบุ วิเคราะห์ ประเมิน และจัดการความเสี่ยง รวมถึงติดตามรายงานผลการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้ทุกหน่วยงานตระหนักถึงความเสี่ยงที่มีในการปฏิบัติงาน และส่งเสริมให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานประจำวัน เพื่อเป็นการปลูกฝังให้บุคลากรทุกระดับได้ตระหนักถึงความสำคัญและการมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดำเนินการด้านบริหารความเสี่ยงขององค์กร เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรและผู้มีส่วนได้เสีย

ตัวชี้วัดการบริหารความเสี่ยงสำหรับผู้บริหาร

ในการบริหารความเสี่ยงองค์กร พีทีจี มีการกำหนดดัชนีชี้วัดความเสี่ยง (Key Risk Indicator : KRI) เพื่อใช้ในการติดตามและวัดผลการบริหารความเสี่ยงของความเสี่ยงระดับองค์กร โดยดัชนีชี้วัดความเสี่ยง (KRI) จะมีทั้งดัชนีชี้วัดด้านการเงิน และด้านที่ไม่ใช่การเงิน ซึ่งในส่วนของดัชนีชี้วัดความเสี่ยง (KRI) ด้านการเงิน ส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับตัวชี้วัดในการประเมินผลการดำเนินงานขององค์กร โดยจะมีการถ่ายทอดมายังผู้บริหารในแต่ระดับด้วย ดังนั้น ดัชนีชี้วัดความเสี่ยงด้านการเงินจึงสอดคล้องกับแรงจูงใจทางการเงิน (Financial incentive) ที่จะช่วยผลักดันให้ทุกคนในองค์กรให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ สำหรับการจัดการความเสี่ยงในระดับองค์กร จะมีการกำหนดเป้าหมายในการลดระดับความเสี่ยงตามระดับของ Metrics ที่ใช้ในการประเมินระดับความเสี่ยง โดยจะมีการติดตามผลของมาตรการจัดการความเสี่ยงที่ใช้เป็นรายไตรมาสหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กรทั้งด้านการเงินและด้านที่ไม่ใช่การเงิน ด้านที่ไม่ใช่การเงิน

การบริหารจัดการความเสี่ยงในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการอนุมัติ

ในการพิจารณาลงทุนในโครงการต่าง ๆ ของพีทีจี ได้มีการนำเรื่องการบริหารความเสี่ยงเข้าไปเป็นหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณาตัดสินใจในโครงการลงทุน โดยมีการวิเคราะห์ ระบุ ประเมินความเสี่ยงของโครงการลงทุน และมีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของโครงการลงทุน ซึ่งมีการนำเสนอข้อมูลการประเมินความเสี่ยงให้ผู้บริหาร และคณะกรรมการการลงทุน (Investment Committee) ระดับบริษัท รวมถึงคณะกรรมการบริษัทประกอบการพิจารณาตัดสินใจในโครงการลงทุนของบริษัท ทั้งนี้ ในการพัฒนากระบวนทำงานและออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ผู้บริหารและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องจะมีการประเมินความเสี่ยงเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

มาตรการที่ช่วยให้สามารถปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยง

มาตรการบริหารความเสี่ยงส่วนใหญ่ใน PTG ครอบคลุมกระบวนการตอบรับที่มีโครงสร้าง เช่น ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นจากคณะกรรมการหรือผู้บริหารเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในระหว่างการรายงานการบริหารความเสี่ยงจะถูกสื่อสารไปยังผู้จัดการความเสี่ยง/เจ้าของความเสี่ยง และผู้ที่เกี่ยวข้อง พีทีจีดำเนิน “กระบวนการทบทวนเกณฑ์ความเสี่ยงตามหน้าที่” ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เบี่ยงเบนได้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานในการปรับปรุงแนวทางการบริหารความเสี่ยง

การวัดประสิทธิผลของวัฒนธรรมความเสี่ยง

พีทีจีได้ดำเนินการจัดทำแบบฟอร์มและข้อมูลแจ้ง Early warning และให้ คำแนะนำสำหรับความเสี่ยงองค์กรที่มีโอกาสไม่เป็นไปตามเป้าหมาย คือ ความเสี่ยงจากการแข่งขันในธุรกิจพลังงาน และธุรกิจ Non-Energy ฯ และมีการติดตามให้หน่วยงานดำเนินการตามมาตรการจัดการความเสี่ยงที่แจ้ง Early warning ได้โดยผลการประเมินความเสี่ยงองค์กรที่ได้แจ้ง Early warning ณ ธ.ค.2566 สามารถลดระดับความเสี่ยงลงได้ตามระดับคาดหวัง

กระบวนการบริหารความเสี่ยง

10076

10074

Loading...