กลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคม
พีทีจี ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมตามมาตรฐานแนวทาง ความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 โดยยึดหลักการประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น การเคารพสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
ทั้งนี้ เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมระดับองค์กร บริษัทจึงได้จัดทำกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมกับชุมชน สังคม รวมถึงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามแนวคิดการสร้างการยอมรับต่อการดำเนินงานของกิจการ (License to operate) และสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อรักษาสมดุลในการดำเนินธุรกิจ ตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย และป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้มีการดำเนินตามกลยุทธ์ ดังต่อไปนี้
1.
สร้างความผูกพันกับชุมชนโดยรอบสถานปฏิบัติการผ่านการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมที่เน้นการสร้างคุณค่าร่วมเพื่อความ
อยู่ดี มีสุข
2. สร้างเครือข่ายและความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชน สังคม
และร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3. ส่งเสริมโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมบนพื้นฐานของ 3 องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่
การพัฒนาคุณภาพชีวิต การส่งเสริมสังคมผู้สูงอายุ และการสร้างวิถีชีวิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ เช่น ชุมชน หน่วยราชการ ลูกค้า คู่ค้า
พนักงาน
ดาวน์โหลดกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคม
สัดส่วนการลงทุนทางสังคม
พีทีจี ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

การบริจาคเพื่อการกุศล
ประเภทการบริจาค | มูลค่า (บาท) |
---|---|
ปี 2565 | |
การบริจาคเงินสด | 135,341,721 |
ค่าใช้จ่ายสำหรับพนักงานจิตอาสาในช่วงเวลาทำงาน | 271,257 |
การบริจาคสิ่งของและการบริการ | 1,730,553 |
ค่าใช้จ่ายสำหรับการบริหารจัดการ | 4,991,638 |
การสำรวจความพึงพอใจของชุมชน
ในปี 2565 พีทีจี ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนเพื่อประเมินการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ซึ่งทำได้เกินเป้าหมายที่คาดไว้ โดยอัตราความพึงพอใจนี้ถูกใช้เป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทกับชุมชนและการยอมรับต่อการดำเนินงานของกิจการ
ปี | อัตราความพึงพอใจของชุมชน | |
---|---|---|
ผลสำรวจ | เป้าหมาย | |
2563 | 96.58% | 80% |
2564 | 91.06% | 90% |
2565 | 94.63% | 90% |