การบริหารจัดการพนักงาน

การสรรหาและวางแผนอัตรากำลัง

          1.1 การสรรหา

1.1 ในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลากรที่เหมาะสม เพื่อดำรงตำแหน่งและปฏิบัติงานต่าง ๆ ในกลุ่มบริษัท กรรมการสรรหาที่รับผิดชอบในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรในแต่ละตำแหน่ง จะพิจารณาคัดเลือกและกลั่นกรองบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามหน้าที่และความรับผิดชอบของงานแต่ละตำแหน่งที่กำหนดไว้ โดยสรุปดังนี้

1.1.1 พิจารณาจากคุณสมบัติ ความเชี่ยวชาญ และหากเป็นตำแหน่งระดับบริหารขึ้นไป จะพิจารณาภาวะการเป็นผู้นำ (Leadership) ความเป็นมืออาชีพ มีภาวะการเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีคุณธรรมและจริยธรรม มีประวัติการทำงานที่โปร่งใส รวมทั้งมีความสามารถในการแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นประโยชน์ต่อองค์กร

1.1.2 พิจารณาจาก Core Competency, Managerial Competency และ Functional Competency ที่กำหนดไว้ในแต่ละตำแหน่งควบคู่ไปด้วย โดยคำนึงถึงความเหมาะสมในด้านทักษะ ประสบการณ์ และคุณสมบัติเฉพาะในด้านต่าง ๆ ที่หลากหลาย ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อธุรกิจ โดยไม่จำกัดหรือแบ่งแยกเพศและเชื้อชาติ หรือความแตกต่างใด ๆ เพื่อให้ได้พนักงานที่มีความสมบูรณ์และเป็นประโยชน์สูงสุด

1.2 การปรับปรุงกระบวนการการทำงานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับข้อมูลของพนักงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (PDPA: Personal Data Protection Act)

1.3 ยกระดับประสิทธิภาพการทำงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับและส่งเสริมกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยได้จัดทำการปรับปรุงกระบวนการทำงานด้านทรัพยากรบุคคล โดยนำกระบวนการ Process Transformation และพัฒนาการทำงานภายใน โดยการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดขั้นตอนการทำงานให้กระชับขึ้น เพิ่มผลผลิตของงาน และลดต้นทุนที่เกิดขึ้นได้ในบางส่วน

1.4 มีการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านการบริหารงานทรัพยากรบุคคล โดยการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ในการบริหารจัดการและปฏิบัติงาน (Social Media Platforms)

1.5 สร้างความร่วมมือ เพื่อผลิตทรัพยากรบุคคลตามความต้องการของธุรกิจ (Partnership) โดยได้มีการทำงานเชิงรุกร่วมกับสถาบันการศึกษาที่เป็นแหล่งผลิตบุคลากรป้อนตลาดแรงงานและคุณสมบัติตรงตามที่บริษัทต้องการ จนนำมาซึ่งการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MoU) การส่งเสริมวิชาการและสร้างอาชีพร่วมกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ โดยการรับนักศึกษาเข้ามาฝึกอาชีพ นักศึกษาจะได้ปฏิบัติงานและเรียนรู้ประสบการณ์จริงตามสาขาวิชาที่ตนเรียนมา นักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกเพื่อฝึกอาชีพจะได้รับเบี้ยเลี้ยง และเงินช่วยเหลือทุนการศึกษา ตลอดระยะเวลาการฝึกอาชีพอีกด้วย

1.5.1 บริษัทได้ทำความร่วมมือกับวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่เป็นแหล่งผู้สมัครจำนวนมาก โดยการส่งข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่ต้องการรับสมัครไปยังหน่วยงานที่ดูแลด้านการมีงานทำของนักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษา หรืออยู่ระหว่างการศึกษาอยู่ และจัดกิจกรรมให้ความรู้กับนักศึกษาที่ใกล้จะสำเร็จการศึกษาตามสถาบันต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์องค์กรให้นักศึกษาทราบถึงข้อมูลความเป็นมาขององค์กร ลักษณะงานที่องค์กรเปิดรับสมัคร เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่องค์กร ถือเป็นโครงการที่สนับสนุนและสร้างอาชีพที่มั่นคงให้กับนักศึกษาจบใหม่

1.5.2 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานราชการ ในการเป็นพันธมิตรกับสำนักงานจัดหางานประจำจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนที่กำลังหางานทำที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์รับสมัครงานผ่านสำนักงานจัดหางานประจำจังหวัดนั้น ๆ โดยสามารถช่วยลดจำนวนคนว่างงานในแต่ละจังหวัดได้อีกด้วย

1.6 ส่งเสริมโครงการสถานที่ทำงานแบบยืดหยุ่น (Flexible Workplace) อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีความทันสมัย รองรับโลกดิจิทัลต่อไปในอนาคต

1.7 มีการจัดทำแผนและกระบวนการสรรหาผู้สืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) ในตำแหน่งที่สำคัญ (Critical Management Position) เพื่อเตรียมความพร้อมให้การดำเนินการต่าง ๆ ขององค์กรเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และบรรลุตามวิสัยทัศน์ขององค์กร

1.8 มีการจัดทำระบบประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานและผู้บริหาร (Performance Management System) ทุกระดับ โดยประเมินภายใต้ตัวชี้วัดที่องค์กรกำหนด

1.2 การวางแผนอัตรากำลัง

พีทีจี มีการวางแผนอัตรากำลังพนักงานเป็นประจำทุกปี โดยพิจารณาจากเป้าหมายขององค์กร (Goals & Strategic Directions) ซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดอัตรากำลังที่เหมาะสมระดับองค์กร บริษัทมอบหมายให้ฝ่าย HR Business Partner ทำงานร่วมกับผู้บริหารและหัวหน้าของทุกฝ่ายงานในการกำหนดอัตรากำลังเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางทางธุรกิจ (Business Direction) ในด้านการวางแผนผู้สืบทอด (Succession Plan) บริษัทดําเนินการวางแผนผู้สืบทอดตําแหน่ง (Succession Plan) เพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีศักยภาพ และผลงานที่โดดเด่นและเป็นที่ยอมรับ ให้พร้อมสําหรับการดํารงตําแหน่งที่สําคัญ หรือตําแหน่งระดับผู้นํา (Future Leader) ขององค์กร ตามทิศทางและกลยุทธ์ของบริษัท โดยมีขั้นตอนการดําเนินการ ดังนี้

1. สื่อสารแก่ผู้บริหารระดับฝ่ายงานขึ้นไป เพื่อสร้างความเข้าใจและให้เห็นถึงความสําคัญของการวางแผนผู้สืบทอดตําแหน่ง รวมทั้งกระบวนการดําเนินการ

2. ระบุตําแหน่งที่มีความสําคัญ (Critical Position) โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ที่บริษัทกําหนด

3. ระบุตัวบุคคลที่เป็นผู้สืบทอดตําแหน่ง โดยจะพิจารณาจากศักยภาพ (Potential) ความพร้อม (Readiness) และ สมรรถนะ (Competency) ที่เหมาะสมในการดํารงตําแหน่งที่มีความสําคัญ (Critical Position) แต่ละตําแหน่ง บริษัทจะพิจารณาบุคลากรภายในบริษัทเป็นลําดับแรก

4. จัดทําหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้สืบทอดตําแหน่งและพัฒนาบุคลากรดังกล่าวให้มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพและความพร้อมสําหรับการเป็นผู้นําขององค์กรในอนาคต (Future Leader) ทั้งนี้ บริษัทจะมีการทบทวนแผนผู้สืบทอดตําแหน่ง (Succession Plan) ทุกปี เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะมีผู้นําที่มีความรู้ ความสามารถ และศักยภาพที่ถึงพร้อม ที่จะนําองค์กรไปในทิศทางและกลยุทธ์ที่วางไว้

ภาพรวมผลการดำเนินงานด้านการสรรหา

เป้าหมายการสรรหาปี 2566 (กลุ่มบริษัท PTG)
จำนวนพนักงานที่มีการสรรหา (กลุ่มบริษัท PTG)
สัดส่วนการเติบโตของพนักงาน (เทียบปี 2565)
21,026
25,016
8.9%


การจ้างงานผู้พิการหรือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ

พีทีจี ให้ความสำคัญกับคนในชุมชนและสังคมกับทุกกลุ่มคน โดยการสนับสนุนความช่วยเหลือให้กับกลุ่มผู้สูงอายุและคนพิการเป็นอีกจุดมุ่งหมายหนึ่งของบริษัท เพื่อเสริมสร้างโอกาสให้พวกเขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง

1. การจ้างงานคนพิการในสถานประกอบการตามมาตรา 33

บริษัทได้มีการจ้างคนพิการ จำนวน ทั้งสิ้น 23 ราย โดยแบ่งเป็นบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) จำนวน 1 ราย, บริษัท ปิโตรเลียมไทยคอร์ปอเรชั่น จำกัด จำนวน 17 ราย, และบริษัท แอตลาส เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) จำนวน 5 ราย และนอกจากนี้ ยังมีการจ้างงานผ่านการดำเนินโครงการต่าง ๆ ได้แก่

2. การจ้างงานคนพิการตามมาตรา 35

ในปี 2566 บริษัทได้มีการจ้างงานคนพิการตามมาตรา 35 โดยร่วมกับสมาคมคนพิการภาคตะวันออกและมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม โดยมีจำนวนคนพิการเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 171 คน ผ่านโครงการฝึกงานหลักสูตรการทำเบเกอรี่ (Bakery Maker), บริการสนับสนุนหน่วยงาน, และจ้างเหมาบริการเพื่อสาธารณประโยชน์ รวมเป็นมูลค่าการจ้างงานทั้งสิ้น 20,472,120 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

หมายเหตุ : บริษัทได้จ้างงานผู้พิการครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด และนำส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ

10076

10074

Loading...