การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

พีทีจี ได้ทําการประเมินประเด็นสําคัญด้านความยั่งยืนตามแนวทางของ Global Reporting Initiative (GRI) เพื่อนำไปสู่การพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการแต่ละประเด็นอย่างเหมาะสมต่อไป โดยบริษัทมีขั้นตอนในการระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ดังนี้
1
การระบุประเด็นสําคัญด้านความยั่งยืน
ระบุประเด็นสําคัญด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ โดยพิจารณาจากความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มทั้งภายในและภายนอก แนวโน้มของธุรกิจโลก และประเด็นสำคัญของธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน
2
การจัดลําดับประเด็นสําคัญด้านความยั่งยืน
จัดลําดับความสําคัญของประเด็นด้านความยั่งยืน แบ่งตามความสําคัญ 4 ระดับ คือมากที่สุด มาก ปานกลาง และน้อย
3
การทวนสอบประเด็นสําคัญด้านความยั่งยืน
สรุปผลประเด็นสําคัญด้านความยั่งยืน และเสนอให้คณะทํางานกํากับดูแลกิจการและคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการเป็นผู้ทบทวน พิจารณารับรองผลการประเมินประเด็นสําคัญด้านความยั่งยืน

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการระบุความเสี่ยงองค์กร เป็นข้อมูลเสริมร่วมกับการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่อาจเกิดขึ้น เพื่อระบุความเสี่ยงองค์กร นอกจากนั้น ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนเหล่านี้ยังใช้เพื่อทวนสอบความเสี่ยงระดับองค์กรที่สำคัญ โดยมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงระดับองค์กรดังแสดงในตารางต่อไปนี้

ประเด็นหลัก
 
ด้านความเสี่ยง ความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงองค์กร
นวัตกรรมทางธุรกิจ ด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงในการขยายการลงทุนในธุรกิจเดิมและธุรกิจใหม่
การบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการฏิบัติงาน ความเสี่ยงการบริหารทรัพยากรบุคลากรไม่ทันต่อการ เติบโตขององค์กร
ความปลอดภัยทางไซเบอร์ ด้านกลยุทธ์
ความเสี่ยงจากเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Risk)
และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้าน
เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Disruptive
technology)

ผลการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

ในปี 2565 บริษัททบทวนประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน โดยศึกษาแนวโน้มของธุรกิจ ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล รวมถึงประเด็นสำคัญของธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยพบว่าประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ และการกำกับดูแลกิจการที่ดี ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤตอากาศ ตามลำดับ

ตัวชี้วัดและผลการดำเนินงานตามประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน


ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ตัวชี้วัดระยะสั้น / ระยะยาว ผลการดำเนินงานปี 2565 SDGs
กลยุทธ์การกำกับดูแลกิจการที่ดี
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
GRI 102: Governance
GRI 205: Anti-corruption
• ผลการประเมินโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการ ≥ 96%
• จำนวนข้อร้อร้องเรียนด้านทุจริตผ่านช่องทาง Whistleblowing ที่มีนัยสำคัญเป็นศูนย์ (กรณี)
• ผลการประเมินโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการ = 95%
• ไม่มีกรณีข้อร้อร้องเรียนด้านทุจริตผ่านช่องทาง Whistleblowing ที่มีนัยสำคัญ

16.5
16.6
การบริหารความเสี่ยงและ ภาวะวิกฤติ
GRI 102: Governance
• ระดับความเสี่ยงองค์กรลดลง 20%
• สัดส่วนของธุรกิจในกลุ่มบริษัท ที่มีการจัดทำแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ 100%
• ระดับความเสี่ยงองค์กรลดลง 31%
• 100% ของธุรกิจในกลุ่มบริษัท ที่มีการจัดทำแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ 

16.7
ความปลอดภัยทางไซเบอร์ • การโจมตีทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญเป็นศูนย์ • ไม่มีการโจมตีทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ
9.1
กลยุทธ์การส่งมอบประสบการณ์ที่ดีและมีคุณค่าตลอดห่วงโซ่อุปทาน
การขยายธุรกิจและผลประกอบการเติบโตต่อเนื่อง
GRI 201: Economic Performance
• รายได้จากการประกอบกิจการ
• ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง (ลิตร)
• การขยายสาขาสถานีบริการน้ำมัน และ Non-oil 
• รายได้จากการขาย 179,422 ล้านบาท เติบโตขึ้น 34.1% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
• ปริมาณจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวน 5,316 ล้านลิตร เติบโตขึ้น 5.9% จากปี 2564
• ขยายสาขาสถานีบริการน้ำมัน 62 สาขา และ Non-oil 405 สาขา 
8.1,
นวัตกรรมเพื่อธุรกิจและสังคม • สามารถสร้างรายได้จากโครงการนวัตกรรมที่เริ่มมีการขยายผลไปสู่ธุรกิจ (Scale up)
• จำนวนโครงการนวัตกรรมกระบวนการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่ผ่านการคัดเลือก 238 โครงการ
• ค่าใช้จ่ายที่ลดได้จากของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน
• รายได้จากโครงการนวัตกรรมที่เริ่มมีการขยายผลไปสู่ธุรกิจ (Scale up) 41.1 ล้านบาท
• จำนวนโครงการนวัตกรรมกระบวนการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่ผ่านการคัดเลือก 191 โครงการ
• ค่าใช้จ่ายที่ลดได้จากของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน  15 ล้านบาท

7.1, 7.3

9.2, 9.4
การบริหารความสัมพันธ์และความรับผิดชอบต่อลูกค้า
GRI 416: Customer Health and Safety
GRI 418: Customer Privacy
• ความพึงพอใจของกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการสถานีบริการ > 80%
• ความพึงพอใจของกลุ่มลูกค้าผู้บริโภค > 90%
• ความพึงพอใจของกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการสถานีบริการ = 83%
• ความพึงพอใจของกลุ่มลูกค้าผู้บริโภค = 92.87%

8.1, 8.2
การบริหารห่วงโซ่อุปทาน
GRI 204: Procurement Practice 2016
• สัดส่วนคู่ค้ารายสำคัญและมีความเสี่ยงสูงที่รับทราบจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า  100%
• คู่ค้ารายสำคัญและมีความเสี่ยงสูงได้รับการตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) 8 ราย
• จำนวนคู่ค้าที่มีการจัดทำแผนการปรับปรุงจากการเข้าตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) 8 ราย
• สัดส่วนคู่ค้ารายสำคัญและมีความเสี่ยงสูงที่รับทราบจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า  100%
• คู่ค้ารายสำคัญและมีความเสี่ยงสูงได้รับการตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) 8 ราย
• จำนวนคู่ค้าที่มีการจัดทำแผนการปรับปรุงจากการเข้าตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) 6 ราย

16.5
กลยุทธ์การขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ
การบริหารทรัพยากรบุคคล
GRI 401: Employment
GRI 404: Training and Education
• ระดับความผูกพันที่พนักงานมีต่อองค์กร 78%
• 100% ของผู้บริหารและ 50% ของพนักงานได้รับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ
• ระดับความผูกพันพนักงาน = 70%
• 100% ของผู้บริหารและ 59.50% ของพนักงานได้รับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ

4.4

8.2, 8.5
ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
GRI 403: Occupational Health and Safety
• อัตราการเกิดอุบัติเหตุของพนักงาน  (Total Recordable Injury Rate: TRIR) เท่ากับ 0.84
• จำนวนกรณีพนักงาน / ผู้รับเหมาเสียชีวิตจากการปฏิบัติงานเป็นศูนย์
• อัตราความถี่จากการบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นหยุดงาน (Lost Time Injury Frequency Rate: LTIFR) ของพนักงานและผู้รับเหมาเป็นศูนย์
• อัตราความถี่ของการเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน (Occupational Illness Frequency Rate: OIFR) ของพนักงานเป็นศูนย์
• TRIR = 0.71
• จำนวนกรณีพนักงานเสียชีวิต = 2 กรณี
• LTIFR พนักงาน = 0.69 และผู้รับเหมา = 0.80
• OIFR พนักงาน = 0

3.5, 3.6
สิทธิมนุษยชน
GRI 405: Diversity and Equal Opportunity
GRI 409: Forced or Compulsory Labor 2016
• จำนวนครั้งในการอบรมพนักงานเรื่องสิทธิมนุษยชนและแรงงาน  18 ครั้ง
• สถิติกรณีมีเหตุการณ์ที่บริษัทถูกร้องเรียนหรือถูกฟ้องร้องว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน 0 กรณี
• อบรมพนักงานเรื่องสิทธิมนุษยชนและแรงงาน 18 ครั้ง
• สถิติกรณีมีเหตุการณ์ที่บริษัทถูกร้องเรียนหรือถูกฟ้องร้องว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็น 0

8.5, 8.7, 8.8
กลยุทธ์การสร้างคุณค่าร่วมกับสังคมและสิ่งแวดล้อม
ความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน
GRI 203: Indirect Economic Performance
GRI 413: Local Communities
• ดำเนินโครงการและกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมจำนวน 4 ครั้ง
• พนักงานเข้าร่วมโครงการ / กิจกรรมเพื่อสังคมจำนวน 200 คน
• ความพึงพอใจของชุมชนในการเข้าร่วมโครงการ / กิจกรรมเพื่อสังคม = 90%
• ดำเนินโครงการและกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมจำนวน 5 โครงการ
• พนักงานเข้าร่วมโครงการ/ กิจกรรมเพื่อสังคมจำนวน 311 คน
• ได้รับผลประเมินความพึงพอใจของชุมชนต่อการเข้าร่วมโครงการ / กิจกรรมเพื่อสังคม = 94.63%

1.4

3.4

15.2
การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
GRI 305: Emission
• ขยายขอบเขตการจัดเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ครอบคลุมพื้นที่สำนักงานใหญ่ คลังน้ำมัน Fleet ขนส่ง และสถานีบริการ ภายในปี 2565 และสามารถกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับองค์กรภายในปี 2566
• สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโครงการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ณ 29 สถานีบริการได้ 970 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2565 และ 6,794 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2570
• ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกครอบคลุมพื้นที่สำนักงานใหญ่ คลังน้ำมัน สถานีบริการ และ Fleet ขนส่ง
• สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโครงการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปที่สถานีบริการตั้งแต่ดำเนินการติดตั้งจนถึงปี 2565 ได้ 1,740 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

7.2, 7.3

13.1, 13.2, 13.3
การจัดการสิ่งแวดล้อม ขยะ ของเสีย และมลพิษ
GRI 306: Waste
GRI 307: Environmental Compliance
การประหยัดพลังงาน
GRI 302: Energy
การบริหารจัดการน้ำ
GRI 303: Water and Effluent
• ปริมาณการรั่วไหลของน้ำมันที่ส่งผลกระทบ ต่อพื้นดินหรือแหล่งน้ำอย่างมีนัยสำคัญป็นศูนย์ (บาร์เรล/ครั้ง)
• 100% ของปริมาณขยะและของเสียอันตรายที่ถูกกำจัดอย่างถูกวิธีและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
• การจัดการขยะไม่อันตรายและขยะอันตรายให้ลดลงจากปีฐาน 2564 (คลังน้ำมัน) 5 %
• จำนวนข้อร้องเรียนด้านคุณภาพน้ำทิ้งและมลพิษทางอากาศที่มีนัยสำคัญเป็นศูนย์
• ปริมาณไฟฟ้าเฉลี่ยรายบุคคลของสำนักงานใหญ่ลดลงจากปีฐาน (2562) 10%
• สัดส่วนปริมาณไฟฟ้าต่อยอดขายน้ำมันผ่านสถานีบริการ COCO (kWh/ลิตร) ลดลงจากปีฐาน (2561) 5%
• สัดส่วนปริมาณไฟฟ้าต่อยอดขายน้ำมันผ่านคลังน้ำมัน (kWh/ลิตร) ลดลงจากปีฐาน (2564) ลดลง 5%
• สัดส่วนปริมาณน้ำต่อยอดขายน้ำมันผ่านคลังน้ำมัน (ลูกบากศ์เมตร/ลิตร) ลดลงจากปีฐาน (2563) 5%
• ปริมาณการรั่วไหลของน้ำมัน (มากกว่า 100 บาร์เรล์/ครั้ง) = 0  ครั้ง
• 100% ของปริมาณขยะและของเสียอันตรายที่ถูกกำจัดอย่างถูกวิธีและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
• ไม่มีข้อร้องเรียนด้านคุณภาพน้ำทิ้งและมลพิษทางอากาศที่มีนัยสำคัญ
• ปริมาณไฟฟ้าเฉลี่ยรายบุคคลของสำนักงานใหญ่ลดลง  18.73%
• ปริมาณไฟฟ้าต่อยอดขายน้ำมันผ่านสถานีบริการ COCO (kWh/ลิตร) ลดลง 65.96%
• ปริมาณไฟฟ้าต่อยอดขายน้ำมันผ่านคลังน้ำมัน (kWh/ลิตร) ลดลง 26.21%
• ปริมาณน้ำต่อยอดขายน้ำมันผ่านคลังน้ำมัน (ลูกบากศ์เมตร/ลิตร) ลดลง 45.02 %

6.3

12.2, 12.4, 12.5

10076

10074

Loading...