การกำกับดูแลกิจการที่ดี

บริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการเสริมสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และเกิดความโปร่งใส เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการยกระดับการดำเนินธุรกิจของ บริษัทขึ้นสู่มาตรฐานสากล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย บริษัทจึงได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่ปี 2555 และกำหนดให้มีการ ทบทวนนโยบาย และแนวปฏิบัติให้มีความเหมาะสมอย่างต่อเรื่องเป็นประจำทุกปี

โครงสร้างองค์กร

นโยบายสำคัญ

ดาวน์โหลดเอกสารนโยบายสำคัญ

10073

กฏบัตร

เอกสารสำคัญ

จรรยาบรรณพนักงาน

  • 1. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ มีวินัย และมีจิตสำนึกที่ดีต่อส่วนรวม และตนเอง ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองและ/หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
  • 2. ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งของบริษัท และกฎหมายอย่างเคร่งครัด
  • 3. รักษาความลับ ผลประโยชน์ และทรัพย์สินของบริษัทอย่างเต็มที่ทั้งจะไม่นำข้อมูล และทรัพย์สินของบริษัท หรือลูกค้าไปใช้ เพื่อการแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
  • 4. ไม่เรียกร้อง และไม่รับเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ใดๆ เป็นการส่วนตัวจากพนักงาน ลูกค้า หรือบุคคลภายนอกเพื่อตอบแทนการเอื้อประโยชน์ของตนหรือจากการปฏิบัติหน้าที่ปกติ หรือการทำงานให้ กับบุคคลภายนอก
  • 5. พนักงานต้องใช้เวลา และทรัพย์สินของบริษัทให้เกิดประโยชน์สูงสุดไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนทั้งในทางตรง และทางอ้อม
  • 6. เสริมสร้างความสามัคคีให้เกิดในหมู่พนักงาน เคารพสิทธิของบุคคลอื่นไม่วิพากวิจารณ์ผู้อื่นในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสียหาย และยึดมั่นในการทำงานร่วมกัน ด้วยการให้ความร่วมมือ หรือช่วยเหลือ ในการปฏิบัติงานแก่ผู้ร่วมงานทุกคน
  • 7. ต้องรายงานข้อเท็จจริงให้บริษัททราบในทันที เมื่อพบการประพฤติผิดจรรยาบรรณ มีการทุจริต หรือเกิดการกระทำใดๆ ที่อาจจะก่อ หรือให้เกิดความเสียหายกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท

จรรยาบรรณนักลงทุนสัมพันธ์

  • 1. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีความเป็นมืออาชีพ ไม่มุ่งหวัง และแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน
  • 2. รักษาข้อมูลภายใน และไม่เปิดเผยข้อมูลให้บุคคลอื่นทราบ จนกว่าจะมีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ
  • 3. เปิดเผยข้อมูลต่อนักลงทุน ผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ สถาบันการเงิน หน่วยงานทางการ สื่อมวลชน บุคคลภายในองค์กร และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างถูกต้องเท่าเทียม และเป็นธรรม ยกเว้นความจำเป็นทางด้านธุรกิจ (เช่น การให้ข้อมูลแก่สถาบันจัดลำดับของเครดิตเรทติ้ง และผู้สอบบัญชี เป็นต้น) ทั้งนี้ รูปแบบการให้ข้อมูล และกิจกรรมอาจแตกต่างกันตามความเหมาะสม
  • 4. ห้ามผู้บริหาร หรือพนักงานในหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ของกลุ่มบริษัทฯ โดยทางตรงหรือทางอ้อม (เช่น Nominee เป็นต้น) ในระยะเวลา 1 เดือน ก่อนการเผยแพร่งบการเงิน รายไตรมาส และงบการเงินประจำปี และภายหลังการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว
  • 5. งดการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลประกอบการ ในระยะเวลา 1 เดือน ก่อนการเผยแพร่งบการเงินรายไตรมาส และงบการเงินประจำปี ซึ่งรวมถึง ไม่มีการนัด จัดประชุม หรือตอบข้อซักถามใดๆ ที่เกี่ยวกับผลประกอบการ ให้แก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ และสื่อมวลชน
  • 6. เพิ่มความรู้ เพื่อปรับปรุงการทำงานให้สอดคล้องกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี และพัฒนาคุณภาพของงานอย่างสม่ำเสมอ

การบริหารความเสี่ยง

การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง

บริษัทได้ให้ความสำคัญกับระบบการควบคุมภายใน ด้วยเล็งเห็นว่าระบบการควบคุมภายในที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์ที่สำคัญด้านการดำเนินงาน การรายงานทางการเงิน และการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนช่วยป้องกัน บริหาร จัดการความเสี่ยงหรือความเสียหายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัทและผู้ที่มีส่วนได้เสีย

บริษัทได้จัดให้มีการประเมินระบบการควบคุมภายในอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยคณะกรรมการบริษัท มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบ สอบทานการประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน ตามกรอบแนวทางของ COSO (The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission) ซึ่งมี 5 ประกอบหลัก สรุปสาระสำคัญดังนี้

1. การควบคุมภายในองค์กร

คณะกรรมการและฝ่ายบริหารได้กำหนดแนวทางให้พนักงานทุกคนปฏิบัติอยู่บนหลักความซื่อตรงและการรักษาจรรยาบรรณในการดำเนินงาน โดยมีการกำหนดคู่มือจริยธรรม และจรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct) เพื่อให้เกิดความชัดเจนในอันที่จะได้รับทราบถึงมาตรฐานการปฏิบัติงานตามที่บริษัทคาดหวัง ตลอดจนยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้งผู้ถือหุ้นและบรรดาผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการแยกจากฝ่ายบริหารอย่างชัดเจน โดยคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งกำหนดไว้ตามกฎหมายและกฎบัตร ตลอดจนได้กำหนดขอบเขต อำนาจ หน้าที่ของประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยบริษัทได้มีการทบทวนรายละเอียดและการปฏิบัติตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

บริษัทมีโครงสร้างองค์กรและการแบ่งแยกหน้าที่ในส่วนงานที่สำคัญอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างกัน รวมถึงมีฝ่ายตรวจสอบภายในที่ขึ้นตรงกับคณะกรรมการตรวจสอบ

ในด้านการจัดหาและพัฒนาบุคลากร บริษัทมีนโยบายในการสรรหา พัฒนา และรักษาผู้บริหารและพนักงานทุกคน เช่น มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน การให้รางวัลต่อบุคลากรที่ทำความดี และสนับสนุนให้พนักงานทุกคนได้รับการฝึกอบรมที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานทั้งหลักสูตรภายในและภายนอก ตลอดจนได้จัดทอดแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง โดยกำหนดขั้นตอนการสรรหาอย่างโปร่งใส เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะได้ผู้บริหารระดับสูงที่มีความเป็นมืออาชีพ

2. การประเมินความเสี่ยง

บริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงและการเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ภายใต้การเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ จึงจัดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย แนวทางการบริหารความเสี่ยง กำกับดูแล และสนับสนุนให้มีการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยง สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายทางธุรกิจ ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะแนวทาง ติดตามผลในภาพรวม ให้การบริหารความเสี่ยงของบริษัทเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิผล

บริษัทได้ระบุความเสี่ยงทุกประเภทที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ การดำเนินงาน การายงาน การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผู้บริหารทุกระดับมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยง และในการประเมินความเสี่ยง ได้มีการพิจารณาทั้งโอกาสเกิดเหตุการณ์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนมีมาตรการและแผนปฏิบัติงานเพื่อจัดการความเสี่ยง

3. การควบคุมการปฏิบัติงาน

บริษัทได้มีการกำหนดนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติงานในกระบวนการต่าง ๆ ตลอดจนกำหนดขอบเขต อำนาจหน้าที่ และลำดับชั้นการอนุมัติรายการของผู้บริหารในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจน เช่น การกำหนดขนาดวงเงินและอำนาจอนุมัติของผู้บริหารแต่ละระดับชั้น เป็นต้น มีการกำหนดกิจกรรมการควบคุมทั้งการปฏิบัติโดยบุคลากร (Manual) และระบบอัตโนมัติ (Automated)

บริษัทได้คัดเลือกและพัฒนากิจกรรมการควบคุมด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นไปอย่างเหมาะสม โดยมีการกำหนดนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ รวมถึงข้อกฎหมาย ข้อบังคับ มาตรฐานสากลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน อีกทั้ง ได้กำหนดมาตรการป้องกันเพื่อควบคุมและลดความเสียหายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากกรณีที่ทรัพย์สินไม่สามารถใช้งานได้ สูญหาย เสียหาย บกพร่อง หรือถูกคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัย

4. ระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูล

ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท บริษัทได้ดำเนินการให้คณะกรรมการมีข้อมูลที่สำคัญสำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจ โดยได้ส่งหนังสือเชิญประชุมล่วงหน้าในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและเพียพอต่อการพิจารณาเอกสารการประชุมของคณะกรรมการ ตลอดจนได้มีการบันทึกรายงานการประชุมที่มีรายละเอียดอย่างเพียงพอเพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ เช่น ความเห็นหรือข้อสังเกตของกรรมการในเรื่องที่พิจารณา เป็นต้น

บริษัทได้จัดให้มีช่องทางในการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน (Whistle Blowing) ในเรื่องที่เกี่ยวกับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนโยบาย และระเบียบวิธีปฏิบัติด้านบุคคล การกระทำที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎระเบียบของรัฐ นโยบาย และหลักการกำกับดูแลกิจการ จรรยาบรรณธุรกิจ และระเบียบข้อบังคับของบริษัท และการกระทำที่อาจส่อถึงการทุจริต ตลอดจนเก็บข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากผู้ให้ข้อมูล หรือผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับสูงสุด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับผู้ให้ข้อมูล หรือผู้แจ้งเบาะแส

5. ระบบการติดตาม

บริษัทได้ติดตามและประเมินผลระบบการควบคุมภายใน เพื่อให้มั่นใจว่ากิจกรรมการควบคุมภายในดำเนินไปอย่างเหมาะสม โดยมีฝ่ายตรวจสอบภายในเป็นผู้ตรวจสอบและประเมินการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในที่วางไว้ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการควบคุมภายใน โดยสื่อสารให้ผู้บริหารรับทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุง และรายงานผลการและผลการติดตามต่อคณะกรรมการตรวจสอบ

นโยบายการบริหารความเสี่ยง และการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

ดาวน์โหลดนโยบายการบริหารความเสี่ยง และการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยงองค์กร

กระบวนการบริหารความเสี่ยงองค์กร

พีทีจี กำหนดให้มีการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Risk Management) ตามกรอบการบริหารความเสี่ยง COSO-ERM 2017 โดยได้ทบทวน พัฒนา และปรับปรุงกระบวนการบริหารความเสี่ยงองค์กรเป็นประจำทุกปี เพื่อให้สามารถตอบรับกับสภาพแวดล้อมของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยได้ดำเนินการระบุความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยงจากบริบทองค์กร และปัจจัย ต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) และกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยง จัดทำตัวชี้วัดความเสี่ยง (Key Risk Indicators : KRIs) รวมถึงติดตามและรายงานผลการบริหารความเสี่ยงรายงานต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด และทำให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น โดยบริษัทมีการระบุความเสี่ยงองค์กรแยกตามมิติด้านความยั่งยืน ดังนี้

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk)

พีทีจี ตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต บริษัทจึงให้ความสำคัญกับการพิจารณาประเด็นความเสี่ยงที่เกิดใหม่ (Emerging Risk) เพิ่มขึ้น เพื่อให้ทันต่อความท้าทายทางธุรกิจที่เกิดขึ้นได้อยู่ตลอดมากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน รวมถึงความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือของบริษัทได้ เพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ บริษัทได้ติดตามข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กฎหมาย เทคโนโลยี และอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำมาวิเคราะห์ และระบุความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk) เพื่อแสวงหาโอกาสและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท

 ดาวน์โหลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ 2565

การสร้างวัฒนธรรมด้านการบริหารความเสี่ยงในองค์กร

พีทีจี มุ่งมั่น สนับสนุน และส่งเสริมวัฒนธรรมด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยบริษัทได้ให้ความรู้ความเข้าใจในกระบวนการและแนวทางการบริหารความเสี่ยงแก่กรรมการบริษัท ผู้บริหารและพนักงานอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เผยแพร่ให้พนักงานทุกระดับได้เรียนรู้ มีการจัดทำข่าวสารส่งให้ผู้บริหารได้รับทราบสถานการณ์ความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ จัดอบรมให้ความรู้ด้านการบริหารความเสี่ยงแก่กรรมการบริษัท ผู้บริหาร คณะทำงานบริหารความเสี่ยง และพนักงาน เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงให้ทุกคนในองค์กร อาทิ มีการเชิญบริษัทคู่ค้าร่วมแบ่งปันข้อมูล (Sharing) การดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงให้แก่กรรมการบริษัท และผู้บริหาร ซึ่งถือเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างองค์กรด้วย นอกจากนี้ในส่วนของคณะทำงานบริหารความเสี่ยงที่ประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ จะทำหน้าที่ในการประสานงานกับส่วนบริหารความเสี่ยง ในการนำนโยบายและกระบวนการบริหารความเสี่ยงเผยแพร่ในหน่วยงานเพื่อไปสู่การปฏิบัติในระดับกระบวนการของหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กร และติดตามให้หน่วยงานดำเนินการตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงโดยมีการระบุ วิเคราะห์ ประเมิน และจัดการความเสี่ยง รวมถึงติดตามรายงานผลการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้ทุกหน่วยงานตระหนักถึงความเสี่ยงที่มีในการปฏิบัติงาน และส่งเสริมให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานประจำวัน เพื่อเป็นการปลูกฝังให้บุคลากรทุกระดับได้ตระหนักถึงความสำคัญและการมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดำเนินการด้านบริหารความเสี่ยงขององค์กร เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรและผู้มีส่วนได้เสีย

ตัวชี้วัดการบริหารความเสี่ยงสำหรับผู้บริหาร

ในการบริหารความเสี่ยงองค์กร พีทีจี มีการกำหนดดัชนีชี้วัดความเสี่ยง (Key Risk Indicator : KRI) เพื่อใช้ในการติดตามและวัดผลการบริหารความเสี่ยงของความเสี่ยงระดับองค์กร โดยดัชนีชี้วัดความเสี่ยง (KRI) จะมีทั้งดัชนีชี้วัดด้านการเงิน และด้านที่ไม่ใช่การเงิน ซึ่งในส่วนของดัชนีชี้วัดความเสี่ยง (KRI) ด้านการเงิน ส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับตัวชี้วัดในการประเมินผลการดำเนินงานขององค์กร โดยจะมีการถ่ายทอดมายังผู้บริหารในแต่ระดับด้วย ดังนั้น ดัชนีชี้วัดความเสี่ยงด้านการเงินจึงสอดคล้องกับแรงจูงใจทางการเงิน (Financial incentive) ที่จะช่วยผลักดันให้ทุกคนในองค์กรให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ สำหรับการจัดการความเสี่ยงในระดับองค์กร จะมีการกำหนดเป้าหมายในการลดระดับความเสี่ยงตามระดับของ Metrics ที่ใช้ในการประเมินระดับความเสี่ยง โดยจะมีการติดตามผลของมาตรการจัดการความเสี่ยงที่ใช้เป็นรายไตรมาสหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กรทั้งด้านการเงินและด้านที่ไม่ใช่การเงิน

การบริหารจัดการความเสี่ยงในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการอนุมัติ


ในการพิจารณาลงทุนในโครงการต่าง ๆ ของพีทีจี ได้มีการนำเรื่องการบริหารความเสี่ยงเข้าไปเป็นหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณาตัดสินใจในโครงการลงทุน โดยมีการวิเคราะห์ ระบุ ประเมินความเสี่ยงของโครงการลงทุน และมีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของโครงการลงทุน ซึ่งมีการนำเสนอข้อมูลการประเมินความเสี่ยงให้ผู้บริหาร และคณะกรรมการการลงทุน (Investment Committee) ระดับบริษัท รวมถึงคณะกรรมการบริษัทประกอบการพิจารณาตัดสินใจในโครงการลงทุนของบริษัท ทั้งนี้ ในการพัฒนากระบวนทำงานและออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ผู้บริหารและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องจะมีการประเมินความเสี่ยงเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

Loading...