การพัฒนาศักยภาพพนักงาน

นโยบายพัฒนาความรู้และศักยภาพของพนักงาน

          พีทีจี ตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากรต่อการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาองค์กรตามวิสัยทัศน์ ในการเชื่อมให้ทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึงชีวิตที่ “อยู่ดี มีสุข” ในทุกด้านของช่วงชีวิต บริษัทจึงได้ส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ ความชำนาญ และความสามารถในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้หน่วยงาน PTG Academy รับผิดชอบการพัฒนาทักษะพนักงาน และปรับปรุงหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน โดยมีกรอบนโยบาย ดังนี้

1. ฝึกอบรมโดยมีค่านิยมหลักขององค์กรเป็นพื้นฐาน เพื่อให้พนักงานมีความเข้าใจหลักการ แนวคิด และวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน ให้บรรลุเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ขอกร
2. ฝึกอบรมความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานให้กับพนักงานใหม่ทุกคน (On Boarding Program) เพื่อให้พนักงานใหม่เกิดความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเป็นไปตามมาตรฐาน และกฎระเบียบของบริษัท
3. ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้เฉพาะด้าน เพื่อเพิ่มทักษะการทำงานของพนักงานให้มีความชำนาญ เช่น หลักสูตรมาตรฐานการบริการ หลักสูตรเตรียมความพร้อมผู้จัดการสถานีบริการ หลักสูตร Finance for non-Finance หลักสูตร SCOR Model เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
4. ฝึกอบรมพัฒนาด้านการบริหารบุคคล เพื่อพัฒนาทักษะ เตรียมความพร้อมการเป็นผู้นำ และการพัฒนาทักษะทางคอมพิวเตอร์โปรแกรมต่าง ๆ เช่น หลักสูตร Microsoft Excel, หลักสูตร Infographic, หลักสูตร Problem Solving Decision Making, หลักสูตร Improving Leadership Skill เป็นต้น
5. ดำเนินกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่มุ่งเน้นในการบริหารจัดการการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


          นอกจากนี้ พีทีจียังได้บริหารจัดการการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตามความจำเป็นของตำแหน่ง โดยแยกการดำเนินงาน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหาร และกลุ่มบุคลากร โดยมีแนวทางการพัฒนาศักยภาพและทักษะ ดังนี้

1) กลุ่มผู้บริหาร (ระดับผู้จัดการส่วนขึ้นไป)
          พีทีจี มุ่งบริหารจัดการการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารในรูปแบบผู้นําในอนาคต (Future Leader) เพื่อรองรับการเติบโตขององค์กร ผู้บริหารจะต้องได้รับการประเมิน 360 องศาจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อย เพื่อการพัฒนาเพิ่มเติม และผู้บริหารจะต้องจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan) ระบุประเด็นที่ต้องการพัฒนาอย่างน้อย 2 ประเด็น และหลักสูตรที่ต้องการศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาองค์กรต่อไป
2) กลุ่มบุคลากร (ระดับผู้จัดการแผนกหรือเทียบเท่าลงมา)
          พีทีจี ส่งเสริมการบริหารและพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อรองรับการเติบโตทางธุรกิจ Oil และการขยายธุรกิจ Non-oil ในอนาคต โดยรูปแบบการฝึกอบรมมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การอบรมเชิงปฏิบัติการ การเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง (Personalized Learning) การหมุนเวียนเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบตามเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ (Career Path) เพื่อให้พนักงานสามารถพัฒนาทักษะความชำนาญจากประสบการณ์ในตำแหน่งหน้าที่ใหม่ เป็นต้น

การดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร

ตัวชี้วัด หน่วย 2565
ชาย หญิง
จำนวนชั่วโมงการอบรมพนักงานโดยเฉลี่ยต่อ FTE ชั่วโมง/คน/ปี 19.55
20.69
18.89
- ระดับผู้จัดการขึ้นไป ชั่วโมง/คน/ปี 57.38
61.45
- พนักงานระดับบริหาร ชั่วโมง/คน/ปี 135.14
181.71
- พนักงานระดับปฏิบัติการ ชั่วโมง/คน/ปี 25.76
34.85
ค่าใช้จ่ายการอบรมพนักงานโดยเฉลี่ยต่อ FTE บาท/คน/ปี 1,445.60
1,880.49
1,196.60
- ระดับผู้จัดการขึ้นไป บาท/คน/ปี 30,775.63
30,775.63
- พนักงานระดับบริหาร บาท/คน/ปี 1,6536.63
2,5271.24
- พนักงานระดับปฏิบัติการ บาท/คน/ปี 1,650.34
1,716.53
ค่าใช้จ่ายสำหรับการอบรมพนักงานทั้งหมด บาท 28,567,143.24

หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพพนักงาน


หลักสูตร ผลประโยชน์ต่อธุรกิจ ผลประโยชน์ต่อธุรกิจเชิงปริมาณ สัดส่วนพนักงานที่ได้รับการอบรมต่อพนักงานทั้งหมด (FTE)
การอบรมหลักสูตรไคเซ็น (KAIZEN)
- จัดให้มีการอบรมหลักสูตรพื้นฐานและหลักสูตรขั้นสูงของไคเช็น โดยเปิดโอกาสให้พนักงานจากทุกหน่วยงานนำส่งผลงานนวัตกรรมไคเซ็น เพื่อประดิษฐ์หรือปรับปรุงกระบวนการ ระบบหรือการบริการ เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และรวดเร็วยิ่งขึ้น
 

- เกิดนวัตกรรมส่งเสริมการบริการ และกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้บริษัทสามารถลดต้นทุนและค่าใข้ต่าง ๆ ได้เพิ่มมากขึ้น 

- สามารถลดต้นทุนของบริษัทได้ทั้งสิ้น 16.10 ล้านบาท

5.0
การอบรมหลักสูตร Productivities initiative
- เพิ่มทักษะของพนักงานและยกระดับการปรับปรุงผ่านเครื่องมือต่าง ๆ รวมทั้งการลงมือปฏิบัติจริง โดยมีผู้บริหารและฝ่าย Process Transformation ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำและเทคนิคต่าง ๆ มีการติดตามความคืบหน้า ตรวจสอบ และรายงานผลเป็นระยะ เพื่อให้พนักงานมีการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างดำเนินโครงการ
 

- สามารถนำไปประยุกต์ใช้และพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำกลับมาใช้ในการลดต้นทุน แก้ปัญหา สร้างคุณค่า และเพิ่มมูลค่าให้แก่องค์กรได้ในอนาคต

- สามารถสร้างรายได้ให้บริษัท 12.48 ล้านบาท และสามารถลดต้นทุนของบริษัท 29.93 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังประหยัดค่าใช้จ่ายของบริษัท ได้ทั้งสิ้น 12.17 ล้านบาท

1.0

ผลตอบแทนจากทุนมนุษย์

ตัวชี้วัด 2562 2563 2564 2565
รายได้ทั้งหมด (ล้านบาท) 120,251.82 104,668.09 133,758.82 179,422.42
ค่าบริหารจัดการ (ล้านบาท) 7,907.31
7,819.65
8270.8
9,764.5
ค่าใช้จ่ายด้านทรัพยากรบุคคล (ล้านบาท) 3,406.22
3,092.74
3,542.47
3,716.69
สัดส่วนผลตอบแทนจากทุนมนุษย์ (HC ROI) 33.98
32.31
36.42
46.65

10076

10074

Loading...