การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กลยุทธ์การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

พีทีจี ตระหนักถึงความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อการดำเนินธุรกิจจากการยกระดับนโยบายของภาครัฐทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการปรับตัวของภาคเอกชนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น บริษัทจึงจัดทำกลยุทธ์การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกำหนดแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับองค์กร ผ่านการจัดเก็บและคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทางธุรกิจ อีกทั้ง บริษัทยังกำหนดให้มีการประเมินความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามแนวทางของ Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFDเพื่อจัดทำข้อมูลความเสี่ยงและโอกาส รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท และกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบเพื่อพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยผนวกรวมกับการประเมินความเสี่ยงองค์กรและเพื่อบรรเทาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการดำเนินธุรกิจ บริษัทมีเจตนารมณ์ในการร่วมบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายตามแผนพลังงานชาติ ซึ่งสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถมุ่งสู่พลังงานสะอาด และลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065-2070 ซึ่งบริษัทมีความมุ่งมั่นในการร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลและคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทางธุรกิจ ประเมินความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสร้างแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และบริษัทกำหนดให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ โดยเลือกใช้เชื้อเพลิงในการขนส่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ของยานพาหนะ และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ บริษัทยังส่งเสริมกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้แก่พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร ผ่านการรณรงค์ปลูกต้นไม้ตามพื้นที่ชุมชน และการลดการใช้พลังงานในสำนักงาน เป็นต้น


ดาวน์โหลดกลยุทธ์การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศ

- การกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
พีทีจี กำหนดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับองค์กร ซึ่งเป็นหนึ่งในการบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน เตรียมความพร้อมในการป้องกันและปรับตัวรับความเสี่ยง รวมถึงแสวงหาโอกาสในการดำเนินธุรกิจจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น บริษัทได้กำหนดให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร โดยประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ซึ่งทำหน้าที่ในการกำกับดูแลความเสี่ยงองค์กรโดยเฉพาะ และคณะทำงานบริหารความเสี่ยง ซึ่งรับผิดชอบในกระบวนการต่าง ๆ ของการบริหารความเสี่ยงองค์กร มีบทบาทหน้าที่เพิ่มเติมในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้มีประสิทธิภาพ โดยผนวกรวมกับการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร


- แนวทางการประเมินความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
พีทีจี ประเมินความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามหลักการของ Task Force on Climate-Related Financial Disclosures(TCFD) โดยระบุความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการวิเคราะห์ผลกระทบตามสถานการณ์จำลอง (scenario) ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) ตามสถานการณ์ทางกายภาพ RCP8.5  สํานักงานพลังงานสากล (International Energy Agency: IEA) ตามสถานการณ์เปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ETP 2DS  และกรีนพีซ (Greenpeace) ตามสถานการณ์เปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอน Greenpeace Advanced Energy [R]evolution เพื่อการบริหารผลกระทบทางธุรกิจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบที่เหมาะสมต่อไป โดยสามารถศึกษาผลวิเคราะห์ความเสี่ยงได้ในรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศ


ดาวน์โหลดรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

ผลการดำเนินงานการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
ในปี 2565 บริษัทได้มีการนำข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของปี 2565 ในขอบเขตสำนักงานใหญ่ คลังน้ำมัน Fleet ขนส่ง และสถานีบริการ เพื่อให้ครอบคลุมทุกขอบเขตของการดำเนินงาน และขอการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) โดยได้รับคำปรึกษาจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนี้


จากการคำนวณและจัดทำรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับองค์กร ประจำปี 2565 ซึ่งมีแผนจะได้รับรองข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) ภายในเดือนพฤษภาคม 2566 นั้น พบว่าบริษัทมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 17,849.256 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2564 เป็นจำนวน 4,048.153 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เนื่องจากบริษัทมีการเพิ่มขอบเขตจากปี 2564 โดยปี 2565 ได้เพิ่มขอบเขตของสถานีบริการในการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้ครอบคลุมขอบเขตการทำงานทั้งหมด


ภาพรวมการดำเนินโครงการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

โครงการโซลาร์รูฟท็อปสถานีบริการน้ำมัน

บริษัทดำเนินการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด ลดการใช้ไฟฟ้าในสถานีบริการ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 2 โดยในปี 2563 บริษัทได้มีการนำร่องติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปทั้งหมด 7 สถานี และได้เปิดใช้โซลาร์รูฟท็อปในปี 2564 ซึ่งมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 297 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า บริษัทมีโครงการที่จะติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเพิ่มเติม 22 สถานี รวมเป็น 29 สถานี ซึ่งได้เปิดใช้ในปี 2565 โดยหากเปิดใช้โซลาร์รูฟท็อปครบทั้ง 29 สถานีแล้ว บริษัทมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 6,794 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าภายในปี 2570 หรือคิดเป็น 970 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี นอกจากนี้ บริษัทได้รับการขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) ในโครงการโซลาร์รูฟท็อปสถานีบริการน้ำมันและแก๊สพีที 29 สถานี

ในปี 2565 บริษัท ได้มีการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปทั้งหมด 33 สถานี และการผลการดำเนินงานในปี 2565 ของโครงการโซลาร์รูฟท็อปสถานีบริการน้ำมัน สามารถประหยัดค่าไฟได้ 2,383,604 บาท กำลังไฟทั้งหมด 645.403 เมกะวัตต์ชั่วโมง และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 43.89 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า นอกจากนี้จากผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการโซลาร์รูฟท็อปสถานีบริการน้ำมัน จนถึงปี 2565 มีกำลังไฟที่ได้ทั้งหมด 2.104 กิกะวัตต์ชั่วโมง ประหยัดค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 7.15 ล้านบาท ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1,740 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า และมีกำลังไฟเฉลี่ยที่ได้ต่อวันคือ 900 กิโลวัตต์ชั่วโมง

 

โครงการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้น้ำมันไบโอดีเซลสำหรับรถขนส่ง

โครงการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถขนส่ง ในปี 2565 บริษัทมีนโยบายในการใช้น้ำมันไบโอดีเซล (B7) ในช่วงระหว่างราคาน้ำมันลดลง สำหรับใช้งานกับรถบรรทุกที่ใช้ในการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นรถเทรลเลอร์กึ่งพ่วง และรถสิบล้อ จำนวน 502 คัน ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง  57,049,987 บาท ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ 11 % และน้ำมันที่ใช้ในรถขนส่งในปี 2565 มีปริมาณทั้งหมด 18,338,933 ลิตร นอกจากช่วยสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย ยังสามารถช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากหากบริษัทใช้น้ำมันดีเซลธรรมดากับรถขนส่งจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 50,259.68 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อลิตร แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้น้ำมันไบโอดีเซล (B7) กับรถขนส่งจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 46,741.50  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อลิตร ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1 ได้ถึง 3,518.18 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อลิตร

หมายเหตุ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คํานวณจากกิจกรรมที่ทําให้เกิดก๊าซเรือนกระจกคูณกับค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยอ้างอิงจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)

 

โครงการขนส่ง Backhaul B100

โครงการขนส่ง Backhaul B100 เป็นการลดความซ้ำซ้อนในการขนส่ง จากการที่ต้องแยกกันขนส่งระหว่าง ส่งน้ำมันจากโรงกลั่นไทยออยล์ศรีราชาไปยังคลังน้ำมันชุมพร และการส่งรถขนส่งไปรับผลิตภัณฑ์ B100 จาก บริษัท พีพีพี กรีน คอมเพล็กซ์ จำกัด (มหาชน) กลับมาส่งยังปลายทางที่กำหนด โดยทำการเปลี่ยนเป็นรวมการขนส่งทั้งสองไว้ในเที่ยวเดียวกัน 
โดยเป็นการส่งน้ำมันจากโรงกลั่นไทยออยล์ไปยังคลังชุมพร จากนั้นขากลับจัดรถเข้ารับผลิตภัณฑ์
B100 ที่ บริษัท พีพีพี กรีน คอมเพล็กซ์ จำกัด (มหาชน) แล้วจึงนำมาส่งตามจุดส่งปลายทางที่กำหนด ทำให้ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้ถึง  352,046 ลิตร คิดเป็นเงิน  9,505,243 บาท  และสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 897.28 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อลิตร

หมายเหตุ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คํานวณจากกิจกรรมที่ทําให้เกิดก๊าซเรือนกระจกคูณกับค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยอ้างอิงจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)


การบริหารจัดการมลพิษ

การบริหารจัดการมลพิษ


พีทีจี ได้กําหนดให้มีกิจกรรมการตรวจวัดและวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้ง จัดทํารายงานผลการตรวจวัด เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงสถานีบริการ รวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพพนักงานที่ปฏิบัติงานในสถานีบริการ ซึ่งบริษัทได้มีการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในสถานีบริการ โดยมีมาตรฐานการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในสถานีบริการ ดังนี้



              ทั้งนี้ บริษัทได้กำหนดมาตรการป้องกันและลดมลพิษทางอากาศ โดยการติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมัน (Vapor Recovery Unit: VRU) ที่คลังน้ำมัน สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และรถขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง และมีการติดตั้งเครื่องวัดแก๊สที่คลังน้ำมัน เพื่อตรวจสอบการปล่อยไอระเหยของน้ำมัน

10076

10074

Loading...